ผลการเปรียบเทียบการลดปวดจากการแทงน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำด้วยวิธีปกติ การประคบเย็นและการใช้ยาชาเฉพาะที่
ชมพูนุช เนตรหาญกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกทกุ คนจะได้รับการแทงน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำด้วยเข็มขนาดใหญ่กว่าผู้ป่วยทั่วไป คือเบอร์ 18-20 และเข็มขนาดใหญ่นี้สามารถก่อให้เกิดความเจ็บป่วยแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นการประคบเย็น ก่อนการแทงน้ำเกลืออาจช่วยให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดลดลงและสามารถนำไปใช้ได้กับผู้ป่วยเพราะความเย็น สามารถเพิ่ม threshold ของความปวดและลดอัตราการนำสัญญาณประสาทของเส้นประสาทที่นำความเจ็บปวด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการลดความปวดจากการแทงน้ำ เกลือทางหลอดเลือดดำด้วยการประคบเย็นจากถุงประคบเย็นและการทายาชา EMLA® ก่อนการแทงน้ำเกลือ รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ prospective randomized control trial ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตวั อย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มละ 20 คน กล่มุ ทดลองที่ 1 ได้รับการประคบเย็นด้วยถุงประคบเย็นนาน 1 นาทีและกล่มุ ทดลองที่ 2 ทายาชานาน 45 นาทีก่อนแทงน้ำเกลือ ส่วนนกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการประคบเย็นหรือทายาชา ผู้ป่วยทุกคนได้รบั การสอดใส่เข็มขนาด 18G บริเวณหลังมือและให้คะแนนความปวดด้วย visual analogue scores (VAS 0-10) ผลการศึกษาพบว่าระดับคะแนนความปวดในกลุ่มที่ได้รับการประคบเย็นและกลุ่มที่ได้รับการทายาชาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.85±1.42 และ 2.68±0.94) แต่คะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า การประคบเย็นด้วยถุงประคบเย็นสามารถลดความเจ็บปวดจากการแทงน้ำเกลือได้ไม่แตกต่างจากการทายาชา EMLA® และทั้งสองวิธีนี้สามารถลดอาการเจ็บปวดได้ดีกว่าการแทงน้ำเกลือปกติ
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2559, March-April
ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 280-283
คำสำคัญ
การประเมินคะแนนความปวด, intravenous canulation, pain scores, การแทงน้ำเกลือ