การวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่แผนกผู้ป่วยนอกเปรียบเทียบระหว่างกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ
วิน เตชะเคหะกิจ
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่ วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แยกตามสิทธิประกันสุขภาพ โดยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่แผนกผู้ป่ วยนอก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 4,353 คนถูกเลือกอยู่ในการศึกษา โดยมี 2,247 คนใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 149 คนใช้สิทธิประกันสังคม และ 1,957 คนใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ การเก็บข้อมูลของผู้ป่วยทำโดยใช้เวชระเบียนอิเลคโทรนิกต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์ของการรักษาโรคถูกประมาณการจากทรัพยากรที่ใช้ในการรักษาโรคที่แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งรวมถึงต้นทุนค่ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ต้นทุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต้นทุนค่ายาลดความดันโลหติ และต้นทนุ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรกั ษาต้นทุนการรกั ษาโรคถูกประเมินโดยใช้ 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมอง สังคม มุมมองผู้ป่ วย มุมมองผู้จ่ายเงิน และมุมมองผู้ให้บริการ โดยใช้ปี ฐาน พ.ศ. 2557 ผลลัพธ์ของการรักษาที่สนใจอยู่ในรูปของ การที่ผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งนิยามจากการที่มีระดับความดันซิสโทลิคน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันไดแอสโทลิคน้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ทดสอบความสัมพันธ์
ทางสถิติโดยใช้ Chi-square และ ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนของผู้ป่วยที่สามารถคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสิทธิการรักษา นอกจากนี้ ต้นทุนรวมของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากในผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิอื่นจากทุกมุมมองในการวิเคราะหต์ต้นทนุ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสิทธิการรักษาแล้ว อัตราส่วนต้นทนุ ประสิทธิผลของการรักษาโรคสูงสุดในกลุ่มผู้ป่ วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิอื่น ความไม่มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงปรากฏอยู่ในการรักษาผู้ป่ วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ งานวิจัยในอนาคตจึงควรศึกษาถึงมาตรการที่จะช่วยพัฒนาต้นทุนต่อประสิทธิผลของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่ วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2559, March-April ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 284-295
คำสำคัญ
Cost, hypertension, โรคความดันโลหิตสูง, Outcome, ผู้ป่วยนอก, ต้นทุน, ผลลัพธ์, Out-patient, health insurance, ประกันสุขภาพ