โปรแกรมการเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาสำหรับผู้ที่เป็น วัณโรคปอด:การวิจัยเชิงทดลอง
วงเดือน สุวรรณคีรี*, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, อะเคื้อ อุณหเลขกะคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
บทคัดย่อ
ผลสำเร็จของการรักษาวัณโรคขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาตลอดการรักษาการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาต่อผลสำเร็จของการรักษาและความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นวัณโรคปอด ที่เข้ารับการรักษาณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามที่ กำหนด เข้ากลุ่มทดลอง 25 ราย และกลุ่มควบคุม 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรม การเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่สร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ร่วมกับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเท่านั้น โปรแกรมใช้เวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม 7 ครั้ง เพื่อให้ความรู้ และจัดกิจกรรมเพิ่มสมรรถนะแห่งตนเพื่อกำกับ ตนเองในการให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา5 ครั้ง และเพื่อเตือนและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดการให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาประเมินความร่วมมือ ในการรักษาด้วยยาและใช้เกณฑ์การจำแนกผลการรักษาวัณโรคขององค์การอนามัยโลก ประเมินผล สำเร็จของการรักษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบฟิชเชอร์และแมนวิทนีย์ ยู
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาหลังเข้าร่วม โปรแกรม 3 เดือนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามหลังเข้าร่วมโปรแกรม 6 เดือน ค่าเฉลี่ยการให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและผลสำเร็จของการรักษาของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นพยาบาลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ที่เป็น วัณโรคปอด เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในระยะสั้นเพื่อเพิ่มผลสำเร็จของการรักษา
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2558, October-December
ปีที่: 19 ฉบับที่ 4 หน้า 311-329
คำสำคัญ
Pulmonary Tuberculosis, วัณโรคปอด, self-efficacy, Self-regulation, Medication adherence, การกำกับตนเอง, Treatment success, ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา, สมรรถนะแห่งตน, ผลสำเร็จของการรักษา