การเปรียบเทียบติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนหลังได้รับการผ่าตัดใส่ pedicle screw ด้วยสามวิธีที่แตกต่างกัน
กุลพัฒน์ วีรสาร, ธีระ ตั้งวิริยะไพบูลย์, ประเสริฐ เอี่ยมปรีชากุล, วุฒิพงษ์ ฐิรโฆไท*, สวิง ปันจัยสีห์, เอื้ออังกูรยิ์ สิทธิมงคล
Department of Neurological Surgery, Prasat Neurological Institute, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-2-3069599; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การเลือกวิธีการผ่าตัดใส่ pedicle screw ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนยังเป็นที่ถกเถียงว่าการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยวิธีดั้งเดิม วิธีคอมพิวเตอร์ช่วยนำวิถีหรือวิธีผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กให้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ผลการรักษาทางคลินิกประเมินคุณภาพชีวิตก่อนผ่าตัดและติดตามหลังผ่าตัด จนกระทั่งครบ 1 ปี ในผู้ป่วยกระดูสันหลังเคลื่อนที่ต้องรับการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังทั้งสามวิธี
วัสดุและวิธีการ: ผู้นิพนธ์ได้เปรียบเทียบการผ่าตัดทุกวิธี ด้วยการติดตามคุณภาพชีวิตเป็นระยะเวลา 1 ปี ในผู้ป่วยทั้งสิ้น 60 ราย ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดไส่ pedicle screw ทั้งสถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ติดตามประเมิน และสัมภาษณ์ถึงคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ เช่น สังคม สุขภาพจิต การใช้ชีวิตประจำวัน ผ่านแบบสอบถามชื่ Oswestry Disability Index (ODI) และ Short Form -36 Health Survey (SF-36) ฉบับแปลภาษาไทย
ผลการศึกษา: ผลที่ได้พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลสำรวจ ODI ในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยนำวิถี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเร็วกว่าทั้งสองกลุ่มที่เวลา 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน (p = 0.031, p = 0.008 ตามลำดับ) นอกจากนั้นยังพบว่าที่เวลา 1 ปี กลุ่ม navigation-assisted มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าทั้ง 2 กลุ่ม (mean ODI scor = 5.8, p = 0.033) ในส่วนของ SF-36 ทั้ง 3 วิธีให้ผลว่าหลังการผ่าตัดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและไม่แตกต่างกันระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม
สรุป: ทั้ง 3 วิธีการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง ให้ผลการรักษาในมุมของคุณภาพชีวิตที่ดีขั้น แม้ว่าในทางสถิติแล้วกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยนำวิถี จะให้ผลว่ามีการฟื้นตัวที่เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่ในทางสถิติแล้ว ไม่ได้ให้ความแตกต่างกันในการดูแลผู้ป่วยในช่วงการติดตาม 1 ปี
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, June ปีที่: 99 ฉบับที่ Suppl 3 หน้า S82-S90
คำสำคัญ
Quality of life, Clinical outcomes, Oswestry Disability Index, Short Form-36 Health Survey, Pedicle screw, Lumbar spondylolisthesis