การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 18 กับวิธีผ่าตัดแบบเปิด
เกื้อกูล พิทักษ์ราษฏร์Yasothon Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนังโดยใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 18 กับวิธีผ่าตัดแบบเปิด
วัสดุและวิธีการ : ทำการศึกษาโดยวิธีการทดลองแบบติดตามไปข้างหน้า ในผู้ป่วย 104 ราย (110 นิ้ว) ระหว่างเดือนกันยายน 2554 – ธันวาคม 2556 ในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาทยโสธร โดยสุ่มแบบจับสลากแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 51 คน (55 นิ้ว) ได้รับการผ่าตัดแบบเปิด กลุ่มทดลอง 53 คน (55 นิ้ว) ได้รับการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนังหลังผ่าตัดจะได้รับ การบันทึก ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ระดับความปวด คำแนะนำการปฏิบัติตัวประเมินภาวะแทรกซ้อน และนัดติดตามการรักษาหลังการผ่าตัดสัปดาห์ที่ 1, 3 และ 6
ผลการวิจัย : ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ผลสำเร็จการผ่าตัดในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิด 55 นิ้ว (100%) กลุ่มทดลองได้รับการผ่าตัดผ่านผิวหนัง 54 นิ้ว (98.1%) และพบว่าในกลุ่มทดลองค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ระยะเวลาหลังผ่าตัดที่สามารถกลับไปใช้มือในชีวิตประจำวัน ระดับความปวด หลังติดตามผล 1 สัปดาห์น้อยกว่าในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ได้มีการสังเกต พบว่ามี ผู้ป่วยนิ้วชี้ล็อค 1 รายในกลุ่มผ่าตัดด้วยวิธีเจาะผ่านผิวหนังมีการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นไม่สมบูรณ์ หลังผ่าตัดยังมีการสะดุดและอาการเจ็บ และได้รับการผ่าตัดแก้ไขด้วยวิธีเปิดแผลใน 2 สัปดาห์ต่อมา
ที่มา
Regional 11 Medical Journal ปี 2558, January-March
ปีที่: 29 ฉบับที่ 1 หน้า 85-94
คำสำคัญ
ผ่าตัดแบบเปิด, Trigger Finger, percutaneous trigger finger surgery, open trigger finger surgery, นิ้วล็อค, ผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนัง