ผลการให้บูพิวาเคนทางช่องท้อง ต่อการใช้ยาระงับปวดมอร์ฟีน ภายหลังการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พนิดา จารุเวฬ, ศิริมาศ อิงคนารถ, สุธี พานิชกุล*Department of Obstetrics and Gynecology, Phramongkutklao Hospital and College of Medicine, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-81-8466376; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการให้ bupivacaine ทางช่องท้อง ในการรักษาความปวดหลังการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง โดยวัดจากการลดปริมาณการใช้ยาระงับปวด morphine ใน 24 ชั่วโมง เมื่อลดความปวดจากผนังหน้าท้องโดยการให้ bupivacaine บริเวณแผลผ่าตัดหน้าท้อง
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยจำนวน 66 ราย ที่นัดมารับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ถูกแบ่งโดยวิธีสุ่ม แบบปกปิดสองทาง ให้ได้รับ bupivacaine 0.25% (กลุ่ม bupivacaine) หรือ นํ้าเกลือ (กลุ่ม normal saline) ปริมาณ 40 มิลลิลิตร ทางช่องท้อง และตาม ด้วย bupivacaine 0.25% ปริมาณ 20 มิลลิลิตร บริเวณแผลผ่าตัดหน้าท้องในทั้งสองกลุ่มภายหลังการผ่าตัด จากนั้นทำการเก็บ ข้อมูลความปวด ปริมาณ morphine ที่ใช้ และผลข้างเคียงจาก morphine ในช่วง 24 ชั่วโมง หลังการให้ bupivacaine ทางช่องท้อง
ผลการศึกษา: ปริมาณ morphine ที่ใช้ใน 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับ bupivacaine ทางช่องท้องน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับนํ้าเกลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (25.3 มิลลิกรัม และ 16.13 มิลลิกรัม, p-value = 0.002) ส่วนต่างของปริมาณ morphine ที่ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 4 ชั่วโมงแรก หลังการให้ bupivacaine ทางช่องท้อง คะแนนความปวดในกลุ่ม bupivacaine ตํ่ากว่าในกลุ่ม normal saline ในชั่วโมงที่ 1 และ 2 หลังการให้ bupivacaine ทางช่องท้อง แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากนั้น ในการศึกษานี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
สรุป: การให้ bupivacaine 0.25% ทางช่องท้องร่วมกับบริเวณแผลผ่าตัดภายหลังการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องสามารถลดการใช้ morphine ในการระงับปวดหลังการผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญโดยไม่มีผลข้างเคียง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, August
ปีที่: 99 ฉบับที่ 8 หน้า 868-876
คำสำคัญ
pain, Bupivacaine, total abdominal Hysterectomy, Intraperitoneal local anesthesia, Incisional local anesthesia