การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ ของการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์
Pisake Lumbiganon, จินตนา จันทร์โคตร, จิรายุ สิทธิเกษร, ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์*, วีระชัย โควสุวรรณDepartment of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand
บทคัดย่อ
การฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน มีจุดประสงค์หลักคือ ป้องกันการเกิดเด็กพิการแต่กำเนิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นหญิงในวัยเจริญพันธุ์ และเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ และเป็นพาหะนำเชื้อสู่ผู้ป่วย จึงได้ศึกษาถึงต้นทุนผลได้ของการฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน โดยไม่ต้องตรวจระดับภูมิต้านทางก่อน อาสาสมัครสตรี 137 คน ซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ได้รับการเจาะเลือดทุกคนก่อนฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน (WISTAR RA 27/3, HUMAN DIPLOID CELLS) แล้วตรวจสอบระดับภูมิต้านทานจากเลือดที่เจาะ พร้อมทั้งติดตามผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน จากนั้นจึงประเมินค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อหาต้นทุน-ผลได้ ผลของการศึกษาพบว่า ความชุกของภูมิคุ้มกันในเจ้าหน้าที่เหล่านี้เท่ากับ 67% และมีอาการข้างเคียงประมาณ 17% ในสายตาของผู้บริหารโรงพยาบาล การฉีดวัคซีนหัดเยอรมันโดยไม่ต้องตรวจหาระดับภูมิต้านทานก่อน จะได้ผลได้สุทธิมากกว่า และข้อสรุปนี้ยังน่าจะใช้ได้ดีในโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการตรวจหาระดับภูมิต้านทาน
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2534, January-March
ปีที่: 6 ฉบับที่ 1 หน้า 19-27