เปรียบเทียบประสิทธิภาพของให้ยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูงและขนาดปกติ ก่อนการส่องกล้องในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารจากภาวะ non-portal hypertension
อรรถพล รัตนสุภา*, สิริวรรณ เซ็งมณี
Division of Gastroenterology, Department of Medicine, Hat Yai Hospital, Songkhla 90110, Thailand; Phone: +66-74-273261, Fax: +66-74-273264; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารจากภาวะ non-portal hypertension เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตสูง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะที่มีกรดสูง แนวทางการรักษาหลักก่อนการส่องกล้องจึงเป็นการให้ยายับยั้งการขับโปรตอนแต่ขนาดและวิธีการให้ยายับยั้งการขับโปรตอนในสมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารต่างๆ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าควรจะเป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูงและขนาดปกติก่อนการส่องกล้องในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารจากภาวะ non-portal hypertension ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ และแนวทางการให้ยายับยั้งการขับโปรตอนก่อนการส่องกล้องควรจะเป็นอย่างไร
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสุ่มไปข้างหน้าโดยแบ่งประชากรที่ศึกษาแบบสุ่มแบบการจัดเรียงกล้องกระดาษสองกลุ่มออกมาเป็นกองๆ กองละ 4 กลอ่ ง โดยกลุ่มหนึ่งจะได้รับยา pantoprazole ขนาดสูง 80 มิลลิกรัม ฉีดแล้วตามด้วยหยดเข้าหลอดเลือดดำในอัตราเร็ว 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมง และอีกกลุ่มจะได้รับยาขนาดปกติ 40 มิลลิกรัม ฉีดเข้าเข้าหลอดเลือดดำทุก 12 ชั่วโมง แต่ให้การรักษาอื่นๆ ตามมาตรฐานปกติเหมือนกัน แล้วเก็บข้อมูลทั่วไป Blatchford score ผลการส่องกล้อง ผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด 113 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูงจำนวน 58 ราย และขนาดปกติจำนวน 55 ราย ค่า Blatchford score ในกลุ่มที่ได้รับยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูงมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาขนาดปกติเล็กน้อยแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ 12.49+3.29 และ 12.38+4.06 ตามลำดับ (p = 0.876) ผลการส่องกล้องพบแผลเป็ปติกชนิดมีความเสี่ยงสูงจำนวนทั้งหมด 22 ราย โดยจะพบว่าในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูงจะมีผลการส่องกล้องพบแผลเป็ปติกชนิดมีความเสี่ยงสูงน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดปกติ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ 10 ราย (ร้อยละ 17.24) และ 12 ราย (ร้อยละ 21.82) ตามลำดับ (p = 0.025) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (3.03 และ 2.89 วัน) อัตราการให้เม็ดเลือดแดง (1.79 และ 1.63 ยูนิต) ภาวะเลือดออกซํ้าจนต้องผ่าตัด (0 และ 1 ราย) และภาวะเลือดออกซํ้าจนเสียชีวิต (0 และ 1 ราย) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูงและขนาดปกติตามลำดับ (p>0.05) ค่า Blatchford score มากกว่า 10, 11 และ 12 คะแนน มีความไวสูงถึงร้อยละ 100, 95 และ 95 และมีค่า negative predictive value (NPV) ที่สูงถึงร้อยละ 100, 97 และ 97 ตามลำดับ ในการทำนายผลการส่องกล้องพบแผลเป็ปติกชนิดมีความเสี่ยงสูง
สรุป: การให้ยายับยั้งการขับโปรตอนในขนาดสูงก่อนการส่องกล้องในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารจากภาวะ non-portal hypertension สามารถลดโอกาสการเกิดแผลเป็ปติกชนิดเสี่ยงสูงได้เมื่อเทียบกับการให้ยายับยั้งการขับโปรตอนในขนาดปกติ แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลจำนวนเม็ดเลือดแดงที่ได้รับภาวะแทรกซ้อนหลังการส่องกล้องและอัตราการเสียชีวิต หากค่า Blatchford score น้อยกว่า 10 ก็อาจจะให้ยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดปกติได้ หากค่า Blatchford score มีค่าระหว่าง 10-12 ก็อาจจะให้ยายับยั้งการขับโปรตอนขนาดสูง แต่หากมีค่า Blatchford score มากกว่า 12 ก็ควรจะให้ยายับยั้งการขับ
โปรตอนขนาดสูง
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, September ปีที่: 99 ฉบับที่ 9 หน้า 988-995
คำสำคัญ
Peptic ulcer bleeding, Proton pump inhibitors before endoscopy, Blatchford score