การศึกษาประสิทธิภาพการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยใช้ไฟฟ้าระเหิดต่อมลูกหมาก เปรียบเทียบการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ไฟฟ้า
ชวินท์ สุขะพิริยะ
หน่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลกลาง
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและผลของการรักษาต่อมลูกหมากโตโดยการผ่าตัดด้วยวิธีการทำให้ระเหิดด้วยไฟฟ้าเปรียบเทียบกับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการตัดด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต 30 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มละ 15 คนกลุ่มแรกทำการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการผ่าตัดด้วยไฟฟ้า กลุ่มที่สองทำการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการระเหิดด้วยไฟฟ้า ศึกษาเปรียบเทียบด้วย อายุผู้ป่วยขนาดต่อมลูกหมาก IPSS score ก่อน และหลังการผ่าตัด 1 เดือน ระยะเวลาในการผ่าตัด ปริมาณสายน้ำที่ใช้ระหว่างผ่าตัดระยะเวลาในการใส่สายปัสสาวะ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างในอายุของผู้ป่วย ขนาดต่อมลูกหมาก และ serum PSA ในทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขนาดต่อมลูกหมากในกลุ่มที่ผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยวิธีการระเหิด ขนาดเล็กกว่า กลุ่มที่ทำการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยวิธีการตัดต่อมลูกหมากโตด้วยไฟฟ้า ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด และสารน้ำใช้ในระหว่างการผ่าตัดของกลุ่มที่ผ่าตัดต่อมลูกหมากโตด้วยวิธีการระเหิดน้อยกว่าอีกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณสารน้ำเกลือที่ใช้หลังการผ่าตัด และระยะเวลาใส่สายสวนปัสสาวะหลังการผ่าตัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยวิธีการระเหิดพบภาวะแทรกซ้อน เลือดอุดตันในสายสวนปัสสาวะ 2 รายและต้องได้รับเลือดทดแทน 1 รายในกลุ่มผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ไฟฟ้าตัด พบ เลือดอุดตันในสายสวนปัสสาวะ 1 ราย และต้องได้รับเลือดทดแทน 2 ราย
สรุป: การผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยวิธีการระเหิด ช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด และการใช้สารน้ำระหว่างการผ่าตัดเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยการใช้ไฟฟ้าตัด
 
ที่มา
วารสารยูโร ปี 2558, January-June ปีที่: 36 ฉบับที่ 1 หน้า 9-15
คำสำคัญ
Transurethral resection of the prostate, BPH, transurethral vaporization, ต่อมลูกหมากโต, การผ่าตัดด้วยวิธีทำให้ระเหิดด้วยไฟฟ้า, การผ่าตัดโดยการตัดด้วยไฟฟ้า