ผลทันทีของการนวดด้วยเทคนิคพิเศษบริเวณปลายสะบักจนถึงชายโครงในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ
รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล*, ธวิพร พิทักษ์, วิชัย อึงพินิจพงศ์, พีราภรณ์ โลหะมงคล, วรวุฒิ อุสุภราช, ศุภาพิชญ์ บุญเสนา, ธวัชชัย สุวรรณโท
ศูนย์วิจัยปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้ออื่นๆ และสมรรถนะของมนุษย์ (BNOJPH) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
บทคัดย่อ
อาการปวดคอเป็นหนึ่งในอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบบ่อยในบุคคลทั่วไป ส่งผลต่อการดำเนิน ชีวิตประจำวัน และนำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายที่สูงในการรักษา ปัจจุบันในทางกายภาพบำบัดมีการรักษาหลากหลายวิธีการ โดยส่วน ใหญ่ให้การรักษาบริเวณที่มีอาการปวดโดยตรง ซึ่งยังเป็นข้อจำกัดในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรง และอาจทำให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนได้ แต่การนวดกล้ามเนื้อบริเวณข้างเคียงอาจส่งผลให้รู้สึกสบายกว่า เนื่องจากอาจทำให้เกิดการไหลเวียนเลือดไป ซ่อมแซมบริ เวณที่มีรอยโรคได้ ดั งนั้นการศึกษานี้จึ งมีวั ตถุประสงค์เพื่อศึ กษาผลทันทีของการนวดด้วยเทคนิคพิเศษ (เทคนิครุ้งทิพย์; เทคนิค RT) ตามแนวกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง ตั้งแต่ระดับปลายสะบักจนถึงขอบของกระดูกซี่โครงซี่ สุดท้าย ต่อการอาการปวดคอ และการเปลี่ยนแปลงองศาการเคลื่อนไหวของคอ ในอาสาสมัครที่มีอาการปวดคอจากการใช้งาน ในชีวิตประจำวัน อายุ 18-25 ปี จำนวน 40 คน โดยอาสาสมัครจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการบำบัดโดย ใช้การนวดด้วยเทคนิคพิเศษ และกลุ่มควบคุม หลังจากนั้นทำการวัดองศาการเคลื่อนไหวของคอ โดยใช้อุปกรณ์ Cervical Range of Motion (CROM) และวัดระดับอาการปวดคอ โดยใช้ Visual Analog Scale (VAS) ก่อนและหลังการรักษาทั้ง สองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า หลังการบำบัดกลุ่มทดลองมีอาการปวดคอลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ในขณะ ที่อาการปวดคอของกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ในเรื่ององศาการเคลื่อนไหวของคอพบว่า หลังการรักษาในกลุ่ม ทดลองมีองศาการเคลื่อนไหวของการก้มศีรษะและเงยศีรษะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001 และ p < 0.05 ตามลำดับ) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีแนวโน้มขององศาการเคลื่อนไหวของคอที่ลดลง และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า อาการปวดคอภายหลังการรักษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และองศาการเคลื่อนไหวของการก้ม ศีรษะและการเงยศีรษะของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001 และ p < 0.05 ตามลำดับ) ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การนวดด้วยเทคนิคพิเศษหรือการกดนวดตามแนวกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง ตั้งแต่ปลายสะบักด้านล่างจนถึงขอบของกระดูกซี่โครงซี่สุดท้าย ช่วยลดอาการปวดคอและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของคอได้
 
ที่มา
๋Journal of Medical Technology and Physical Therapy ปี 2559, May-August ปีที่: 28 ฉบับที่ 2 หน้า 135-143
คำสำคัญ
pain, อาการปวด, Neck pain, Range of motion, Special massage technique (RT technique), อาการปวดคอ, การนวดด้วยเทคนิคพิเศษ, องศาการเคลื่อนไหว