ประสิทธิผลของการฝึกโยคะต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการก่อนมีประจ
พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์*, สมฤทัย มวลเสียงใส, วิลานี วงศ์ขุมเงิน, วัณทนา ศิริธราธิวัฒน์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโยคะในการลดระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ในหญิงวัยรุ่น อายุ 18-22 ปี จำนวน 48 คน ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มโยคะ (n=24) และกลุ่มควบคุม (n=24) ด้วยวิธีการสุ่ม มีการประเมิน สมรรถภาพทางกายและระดับความรุนแรงของ PMS ก่อนกับหลังการทดลอง อาสาสมัครกลุ่ม โยคะได้ทำการฝึกโยคะที่บ้าน วันละ 30 นาที 2 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มกลุ่มควบคุมไม่ได้ออกกำลัง กายใดๆ ผลการทดลองพบว่าสมรรถภาพทางกาย ซึ่งประกอบด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ความแข็งแรงของกล้าม เนื้อขา และความยืดหยุ่นลำตัว ในกลุ่มโยคะมีแนวโน้มเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สำหรับ PMS พบว่าในกลุ่มโยคะเท่านั้นที่มีความรู้สึกโกรธง่าย อารมณ์ไม่มั่นคง ฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ ปวดหลัง ปวดท้อง และปวดเมื่อย ขา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการฝึกโยคะ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ในการบรรเทา PMS ซึ่งอาจส่งเสริมให้เป็นการรักษาอีกทางเลือกสำหรับหญิงวัยรุ่นผู้มี PMS
 
ที่มา
๋Journal of Medical Technology and Physical Therapy ปี 2559, May-August ปีที่: 28 ฉบับที่ 2 หน้า 154-164
คำสำคัญ
yoga, โยคะ, Premenstrual syndrome, กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน