ผลของ dexamethasone ต่อการระงับปวดหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางนรีเวช
พรภัทรา อารีรักษ์*, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, ศิวพร เติมพรเลิศ, ธนิศร์ ประวิตรางกูร, จิตรภัทรา งันลาโสม, ชลธิชา เจริญทรัพย์, เกศินี ทองจุลเจือ
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-2-2011523, Fax: +66-2-2011569; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : ภาวะเจ็บปวดหลังผ่าตัด สามารถนำมาซึ่งภาวะไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยหลายประการ วิสัญญีแพทย์จึงควรควบคุมความปวดนี้ให้ดี โดยปัจจุบันมีการใช้ opioid เป็นการรักษาหลัก ในการระงับปวดหลังผ่าตัด และมีการใช้ยากลุ่มอื่นๆ เช่น NSAIDs, Gabapentin ร่วมด้วย เพื่อลดปริมาณการใช้ opioid ได้ สำหรับ dexamethasone เป็นยาที่มีการใช้แพร่หลายในการลดการอักเสบ และลดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด แต่ผลในแง่การระงับปวดหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องนั้นยังไม่มีการศึกษาชัดเจน
                วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลในการระงับปวดของการให้ dexamethasone ในระหว่างการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางนรีเวชวิทยา โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถใช้เป็นหนึ่งใน multimodal analgesia ได้
                วัสดุและวิธีการ : หลังจากได้รับการพิจารณาทางจริยธรรมแล้ว แบ่งผู้ป่วย 52 ราย ที่มาเข้ารับการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางนรีเวชออกเป็นสองกลุ่ม โดยการใช้ computer generated random number list หลังจากนำสลบ กลุ่ม D จะได้รับ dexamethasone 8 mg กลุ่ม P ได้ normal saline ในปริมาณที่เท่ากัน หลังผ่าตัด มีการใช้ยาระงับปวดด้วย PCA morphine โดยมี primary outcome คือ ปริมาณการใช้ morphine รวมที่ 6 และ 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการวัดภาวะข้างเคียง อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการเจ็บคอ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หลังผ่าตัดร่วมด้วย
                ผลการศึกษา : พบว่าปริมาณการใช้ morphine ในช่วง 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดในกลุ่ม D (15.88±9.59) น้อยกว่ากลุ่ม P (24.25±15.26) อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.027) เช่นเดียวกับปริมาณการใช้ในช่วง 6 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด ส่วนการให้คะแนนความปวดขณะพักของสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนความปวดเวลาขยับ ในกลุ่ม D น้อยกว่ากลุ่ม P อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่ 6 ชั่วโมง (p = 0.03) และ 24 ชั่วโมง (p = 0.039) โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนในทั้งสองกลุ่ม
                สรุป : การให้ dexamethasone 8 mg ในระหว่างการผ่าตัด สามารถลดความปวดขณะขยับ และลดการใช้ morphine ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางนรีเวชได้อย่างมีนัยสำคัญ
 
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, November ปีที่: 99 ฉบับที่ 11 หน้า 1239-1244
คำสำคัญ
postoperative pain, dexamethasone, Gynecology laparotomy