คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ณัฏฐิญา ค้าผล, บุษรา วาจาจำเริญ*, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวยกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีที่มีระดับความรุนแรงต่างๆ ด้วยเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต modified WOMAC ฉบับภาษาไทย
วิธีการวิจัย : ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 194 คนได้รับการสัมภาษณ์ตามแบบวัดคุณภาพชีวิต modified WOMAC ฉบับภาษาไทย
ผลการวิจัย : ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้าร่วมการศึกษา เป็นเพศหญิงร้อยละ 81.6 อายุเฉลี่ย 65.05±10.17 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.31±3.78 กิโลกรัม/เมตร2 ระดับความปวดเฉลี่ย 5.55±2.65 (จากคะแนนเต็ม 10) ผู้ป่วยร้อยละ 34.5 และ 27.8 มีความรุนแรงของโรคตามเกณฑ์การประเมินระบบขั้นของ Kellgren-Lawrence อยู่ระดับ 4 และ 3 ตามลำดับ การวัดคุณภาพชีวิตในด้านความปวดนั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความปวดมากที่สุดในขณะขึ้นลงบันได และมีระดับความปวดน้อยที่สุดในขณะอยู่เฉยๆ ด้านอาการข้อฝืด/ข้อยึด ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นปัญหาในระดับน้อย การประเมินความสามารถในการใช้งานข้อพบว่า กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำได้ยากที่สุดคือการขึ้นบันได ส่วนกิจกรรมที่มีปัญหาน้อยที่สุดคือ การเข้าออกจากห้องอาบน้ำ คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยในมิติด้านความปวดและด้านระดับข้อฝืด/ข้อยึดไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละระดับความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ KL = 4 มีคุณภาพชีวิตด้านการใช้งานข้อน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ KL = 2 อย่างมีนัยสำคัญ
สรุป : โรคข้อเข่าเสื่อมมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านความปวดและด้านความสามารถในการใช้งานข้อ แม้ว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคต่างกันมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในแต่ละมิติไม่ต่างกัน บุคลากรทางการแพทย์ควรพิจารณาถึงการลดอาการปวดเพื่อจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2559, July-December
ปีที่: 8 ฉบับที่ 2 หน้า 230-236
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, osteoarthritis, โรคข้อเข่าเสื่อม, คุณภาพชี่วิต, treatment outcome, ผลลัพธ์การรักษา