ประสิทธิภาพการระงับปวดของการฉีดยาชาแผลผ่าตัดคลอดแบบ Pfannenstiel เปรียบเทียบระหว่าง 0.25% บูพิวาเคนกับ 0.25% บูพิวาเคนผสมลิโดเคน
ผกาพร ชมภูใบ*, กฤษณ์ ปัญจสวัสดิ์วงศ์, ประสงค์ จตุรศรีวิไล, เสกสรรค์ แซ่แต้
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา รพ.อุตรดิตถ์ ถ.เจษฎาบดินทร์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000
บทคัดย่อ
 ภูมิหลัง : มีหลักฐานว่าการฉีดยาชาที่แผลผ่าตัดคลอด ระงับปวดได้ผลดี แต่บางการศึกษาให้ผลตรงกันข้าม เนื่องจากมีความแตกต่างของยาชาและเทคนิคการฉีด
                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการฉีดยาชาทุกชั้นของผนังหน้าท้องด้วยยา bupivacaine ที่มีและไม่มีส่วนผสมของ lidocaine ต่อความปวดระยะฉับพลันและเรื้อรังหลังการผ่าตัดคลอด
                วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบ prospective, randomized, double-blind, placebo-controlled ในหญิงผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วน แผลแบบ Pfannenstiel ภายใต้การระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย จำนวน 120 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่มเท่ากัน กลุ่ม BL ฉีดส่วนผสมของ 0.5% bupivacaine 20 ml และ 1% lidocaine 20 ml, กลุ่ม B ฉีด 0.25% bupivacaine 40 ml, กลุ่ม NSS ฉีด 0.9% NaCl 40 ml โดยฉีดชั้น peritoneum 10 ml, ได้ต่อ rectus sheath 10 ml และ subcutaneous 20 ml ร่วมกับฉีด diclofenac เข้ากล้ามเนื้อทุก 12 ชั่วโมงสองครั้ง ควบคุมความปวดด้วยมอร์ฟีนที่ให้ทาง patient controlled analgesia เป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
                ผลการศึกษา : ระดับความปวดขณะพักกลุ่ม B มากกว่ากลุ่ม BL และ NSS (p=0.030) ระดับความปวดเวลาขยับตัวและปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ใน 24 ชั่วโมงไม่ต่างกัน (p=0.091 และ p=0.672) ชั่วโมงที่เริ่มมีอาการปวดแผลผ่าตัดมากของกลุ่ม BL และ B ช้ากว่ากลุ่ม NSS คือ 7.5±8.1, 6.4±7.8 และ 4.0±6.0 ชั่วโมง ตามลำดับ (p=0.037) ผลข้างเคียงและความพึงพอใจไม่ต่างกัน อุบัติการณ์ของ postsurgical pain syndrome พบร้อยละ 19.2, 14.8 และ 30.8 ในกลุ่ม BL, B และ NSS ตามลำดับ (p=0.381)
                สรุป : การฉีดยาชาที่แผลผ่าตัดทุกชั้นของผนังหน้าท้องด้วย bupivacaine อย่างเดียวหรือผสมกับ lidocaine ไม่ลดระดับความปวดและปริมาณการใช้มอร์ฟีนหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง แต่ช่วยยืดระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวดแผลผ่าตัดมาก การฉีดยาชาที่แผลผ่าตัดไม่ช่วยป้องกันการเกิด postsurgical pain syndrome           
 
 
ที่มา
Lampang Medical Journal ปี 2559, July-December ปีที่: 37 ฉบับที่ 2 หน้า 46-56
คำสำคัญ
Cesarean section, General anesthesia, ผ่าตัดคลอด, ระงับปวดหลังผ่าตัด, ระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย, Postoperative pain control, Local wound infiltration, การฉีดยาชาที่แผลผ่าตัด