ลักษณะของแผลในช่องคลอดหลังการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องระหว่างการตัดช่องคลอดด้วยเครื่องตัดจี้ไฟฟ้าและการตัดด้วยมีดหรือกรรไกร: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม
ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ, ชญานิศ ติณโสภารัตน์, กฤษดา ไพรวัฒนานุพันธ์*, นวนลล์ เล็กสกุล, ณัฐพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, ศักดา วัลลิภากร, อาบอรุณ เลิศขจรสุขDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-91-9596415, Fax: +66-2-2011416; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของแผลในช่องคลอดหลังการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องระหว่างการตัดช่องคลอดสองวิธี คือ ตัดด้วยเครื่องตัดจี้ไฟฟ้าและการตัดด้วยมีดหรือกรรไกร
วัสดุและวิธีการ : ทำการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มในผู้ป่วย 80 ราย ที่นัดมาผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องโดยมีข้อบ่งชี้ที่ไม่ใช่มะเร็ง แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้มีดหรือกรรไกรตัดช่องคลอด และกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เครื่องตัดจี้ไฟฟ้าตัดช่องคลอดภายใต้การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องด้วยวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษาหลัก คือ ลักษณะของแผลในช่องคลอดซึ่งวัดจากระดับการยึดติดกันของเยื่อบุผนังช่องคลอดและการเกิดเนื้อเยื่อแกรนูเลชันของแผลในช่องคลอดที่ 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัด
ผลการศึกษา : ที่ระยะเวลา 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้เครื่องตัดจี้ไฟฟ้าตัดช่องคลอดมีลักษณะการยึดติดกันของเยื่อบุผนังช่องคลอดไม่สมบูรณ์ทั้งหมด 11 ราย (27.5%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้มีดหรือกรรไกรตัดช่องคลอดซึ่งพบ 8 ราย (20%) (p = 0.43) อุบัติการณ์การเกิดเนื้อเยื่อแกรนูเลชันในช่องคลอดในกลุ่มที่ใช้มีดหรือกรรไกร และกลุ่มที่ใช้เครื่องตัดจี้ไฟฟ้าเท่ากับ 10% และ 22.5% ตามลำดับ
สรุป : ลักษณะของแผลในช่องคลอดที่ 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องระหว่างวิธีการตัดช่องคลอดสองวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, December
ปีที่: 99 ฉบับที่ 12 หน้า 1277-1282
คำสำคัญ
Hysterectomy, Electrosurgery, Colpotomy, Granulation, Vaginal stump