ความแม่นยำของการประเมินอัตราการตายของมะเร็งกระดูกภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด
ดำรงค์ ฐาปนกุลศักดิ์, พงษ์ศักดิ์ กาจณรงค์, นวลสวาท หิรัญสกลวงศ์, ทวีพงษ์ พิทักษ์มลคลDepartment of Orthopaedic Surgery, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนของอัตราการตายของมะเร็งกระดูกภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด ด้วยวิธีตัดตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาโดยอาศัยแบบจำลองรูปภาพทางคอมพิวเตอร์รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง โดยอาศัยแบบจำลองรูปภาพทางคอมพิวเตอร์สถานที่ทำวิจัย: ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ วิทยาลัยแทพยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกลุ่มตัวอย่าง: ภาพจำลองทางคอมพิวเตอร์ของก้อนเนื้อมะเร็งกระดูกจำนวน 100 ภาพ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 จำนวน 25 ภาพ ระบุปริมาตรเนื้อตายร้อยละ 0-50 (ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ไม่ดี) กลุ่ม 2 จำนวน 25 ภาพ ระบุปริมาตรเนื้อตายร้อยละ 50-90 (ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ไม่ดี) กลุ่ม 3 จำนวน 25 ภาพ ระบุปริมาตรเนื้อตายร้อยละ 90 ถึง น้อยกว่าร้อยละ 100 (ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี) และกลุ่ม 4 จำนวน 25 ภาพ ระบุปริมาตรเนื้อตายทั้งหมด (ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี)วิธีดำเนินการวิจัย: สร้างภาพจำลอง 3 มิติ เสมือนก้อนเนื้อมะเร็งกระดูกขนาด 10 x 6 x 6 ซม. จำนวน 100 ภาพ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นทำการจำลองการตัด (serial cross section) ภาพจำลองก้อนเนื้อมะเร็งกระดูกเป็นชิ้นๆ ตามลำดับ ที่ความหนา 1 ซม. คำนวณหาร้อยละของพื้นที่เนื้อตายบริเวณผิวหน้าตัดของทุกชิ้น และนำมาคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละของพื้นที่เนื้อตายรวมของทั้งก้อน ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความแตกต่างกับค่าร้อยละของปริมาตรเนื้อตายที่กำหนดค่าไว้ภาพต่อภาพ เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละของความคาดเคลื่อน พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงผลของความคาดเคลื่อนต่อการเปลี่ยนแปลงการพยากรณ์โรค คือการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด จากนั้นทำการจำลองการตัด ที่ความหนา 1.5, 2, 3, 4 และ 5 ซม. ตามลำดับ พร้อมทั้งทำการคำนวณเปรียบเทียบในรูปแบบเดียวกับการจำลองการตัดที่ความหนา 1 ซม. ตัววัดที่สำคัญ: ร้อยละของความคาดเคลื่อนผลการวิจัย: การตัดภาพจำลองที่ความหนา 1 ซม. ของกลุ่มตัวอย่างที่ 1-4 มีความคาดเคลื่อนร้อยละ 26.9, 4.2, 0.4 และ 0 ตามลำดับ และพบความคาดเคลื่อนของการแปลผลการพยากรณ์โรคทางคลินิกเฉพาะในกลุ่มที่ 1, 2 สำหรับการตัดภาพจำลองที่ความหนา 1.5, 2, 3, 4 และ 5 ซม. มีความคาดเคลื่อนมากขึ้นตามลำดับ และมีความคาดเคลื่อนของการแปลผลการพยากรณ์ในทางคลินิกในกลุ่มที่ 1, 2 เท่ากับร้อยละ 2, 2, 4, 8 และ 8 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ 3, 4 เท่ากับร้อยละ 2, 0, 2, 0 และ 0 ตามลำดับสรุป: การตัดตรวจเนื้อมะเร็งกระดูกส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อหาอัตราการตายของเซลล์เนื้อเยื่อมะเร็งกระดูกโดยใช้ชิ้นเนื้อที่มีความหนา 1 ซม. จากการคำนวณโดยอาศัยแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ ยังมีความคาดเคลื่อนจากปริมาตรเนื้อตายจริงในกลุ่มที่มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดไม่ดี สำหรับกลุ่มที่มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดดี จะมีความคาดเคลื่อนน้อยและการตัดที่ความหนามากขึ้น ไม่มีผลต่อการแปลผลการพยากรณ์โรคทางคลินิก
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2551, January-April
ปีที่: 50 ฉบับที่ 1 หน้า 27-32
คำสำคัญ
Osteosarcoma, Post-chemotherapy, Tumor necrosis