การศึกษาเปรียบเทียบผลทันทีระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อความยืดหยุ่นของร่างกายในเพศหญิง อายุ 30-45 ปี
ศิรินทิพย์ คำฟู*, ณิชาภา พาราศิลป์
สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การทำงานเป็นระยะเวลา นานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ คือการขาดความยืดหยุ่นของร่างกาย การเพิ่มความยืดหยุ่น มีหลายวิธีหนึ่งในนั้นคือการอบไอน้ำการศึกษานี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลทันทีระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำต่อความยืดหยุ่นของร่างกายในอาสาสมัครเพศหญิงอายุ 30-45 ปี ที่มีความยืดหยุ่นของ ร่างกายระดับต่ำถึงปานกลาง
วิธีการศึกษา: อาสาสมัครเพศหญิง อายุ 30-45 ปี จำนวน 29 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำจำนวน 14 ราย และกลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำสมุนไพรไทย 15 คน ทำการอบไอน้ำเป็นระยะเวลา 30 นาที ประเมิน ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลัง โดยการทดสอบการนั่งงอตัว (Sit and reach test) และประเมินความยืดหยุ่นของข้อไหล่ด้วยการทดสอบ การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ (Shoulder girdle flexibility test) ก่อนและหลังการอบไอน้ำ
 ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอบไอน้ำแบบธรรมดา และกลุ่มอบไอน้ำสมุนไพร มีค่าความยืดหยุ่นของข้อไหล่ ข้างซ้ายและขวาหลังได้รับการอบไอน้ำได้แก่ -10.21 ± 9.51, -7.28 ± 7.56 ซม. และ -7.07 ± 8.44, -2.53 ± 6.25 ซม. ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ได้แก่ 7.96 ± 5.90, 12.97 ± 6.26 ซม. ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบความยืดหยุ่นของข้อไหล่ ข้างซ้ายและขวา ระหว่างกลุ่มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p =0.07 และ 0.35 ตามลำดับ) มีเพียง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาในกลุ่มที่ได้รับการ อบไอน้ำสมุนไพรมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำแบบ ธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ (12.97 ± 6.26, 7.96 ± 5.90 ซม. p =0.04)
สรุป: การอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำสามารถ เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลังและความยืดหยุ่นของข้อไหล่ได้ แต่อย่างไร ก็ตามการอบไอน้ำสมุนไพรไทยสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ได้ดีกว่าการอบไอน้ำแบบธรรมดา
 
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2560, March-April ปีที่: 32 ฉบับที่ 2 หน้า 143-149
คำสำคัญ
Flexibility, ความยืดหยุ่น, Steam, Thai Herbal, อบไอน้ำ, สมุนไพรไทย