การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในระยะสั้นของการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ TEP กับ Lichtenstein repair
วิลพงษ์ พรมน้อย*, ภูริพัฒน์ นริษทิ์ภูวพงษ์
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
บทคัดย่อ
จุดประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบประสิทธิผลของการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ TEP กับ Lichtenstein repair ในระยะสั้น
ความเป็นมา: การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบโดยวิธีใช้ mesh เป็นวิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ ต่อมาได้มีการพัฒนาการผ่าตัดโดยใช้ laparoscopy และทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการผ่าตัดกับวิธี open repair แต่ข้อมูลของการศึกษายังไม่ชัดเจน
วิธีการศึกษา: การศึกษนี้เป็นการศึกษาแบบการทดลองทางคลินิก (randomized controlled trial) ประเภทติดตามผลไปข้างหน้า (prospective analysis study) ในผู้ป่วยเข้ารับการศึกษาการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ตั้งแต่ มกราคม 2555 – ธันวาคม 2558 ทำการศึกษาเปรียบผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดแบบ TEP กับ Lichtenstein repair โดยศึกษาระยะเวลาการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน การปวดแผล ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและการกลับไปทำงาน
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้ารับการศึกษาเป็นเพศชายทั้งหมด 66 ราย สุ่มการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดแบบ TEP กับ Lichtenstein repair กลุ่มละ 33 ราย ทั้ง 2 กลุ่ม มีช่วงอายุ ค่าดัชนีมวลกาย และ ASA ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.01) ระยะเวลาในการผ่าตัดเฉลี่ยแบบ TEP 52.42 นาที (SE = 2.16) และ Lichtenstein repair 21.91 นาที (SE = 0.92) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและการกลับไปทำงานหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.01) อาการปวดแผลหลังผ่าตัดพบว่าการผ่าตัดแบบ TEP มีการปวดแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบ Lichtenstein repair ใน 12 และ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) แต่วันที่ 14 และ 30 หลังผ่าตัด พบว่าการปวดแผลหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.01) การศึกษานี้ไม่พบภาวะแทกรซ้อนของการผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป: การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ TEP มีประสิทธิผลในระยะสั้นดีกว่าการผ่าตัดแบบ Lichtenstein repair ในด้านลดการปวดแผลหลังผ่าตัดใน 12 และ 24 ชั่วโมง แรก ส่วนความสามารถกลับไปทำงานหลังผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน ข้อด้อยของการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ TEP คือ ใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลสกลนคร ปี 2559, September-December ปีที่: 19 ฉบับที่ 3 หน้า 1-11
คำสำคัญ
of Laparoscopic total extraperitoneal (TEP) inguinal hernia, Lichtenstein repair, Short-term results, ประสิทธิผลในระยะสั้น