ผลของยาอะซิโธรมัยซินร่วมกับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยสูบบุหรี่
พุทธิพร ชาญสุไชย
ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 02 2461553
บทคัดย่อ
มีการศึกษาทางคลินิกมากมายเพื่อหายาต้านจุลชีพที่ช่วยส่งเสริมผลการรักษาโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ซึ่งมีแนวโน้มการตอบสนองต่อผลการรักษาด้อยกว่ากลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทางคลินิกในผู้สูบบุหรี่ระหว่างการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียวร่วมกับการได้รับยาอะซิโธรมัยซินกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียวแต่เพียงอย่างเดียว โดยมีผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังจำนวน 28 คน แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและควบคุมจำนวน 14 คนต่อกลุ่ม ติดตามผลทางคลินิกที่ช่วงเริ่มต้น 3 เดือนและ 6 เดือน ดังนี้ ติดตามค่าความลึกร่องปริทันต์ ระดับยึดทางคลินิก แบ่งตามกลุ่มความลึกร่องปริทันต์เริ่มต้น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1-3, 4-6, มากกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิเมตร ตามลำดับ และติดตามค่าการมีเลือดออกหลังการโพรบทั้งปากและดัชนีคราบจุลินทรีย์ทั้งปาก จากการศึกษานี้พบความแตกต่างของความลึกร่องปริทันต์ระดับยึดทางคลินิก ดัชนีคราบจุลินทรีย์ทั้งปากและการมีเลือดออกหลังการโพรบทั้งปากที่ช่วง 3 เดือนและ 6 เดือน (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเริ่มต้นของทั้งสองกลุ่ม และพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ของความลึกร่องปริทันต์และระดับการยึดทางคลินิกที่ 3 และ 6 เดือนในกล่มุ ความลกึ ร่องปริทันต์เริม่ ต้นมากกว่าหรือเท่ากับ7 มิลลิเมตร ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการใช้ยาอะซิโธรมัยซินร่วมกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียวให้ผลที่น่าพอใจในการลดความลึกร่องปริทันต์และเพิ่มระดับการยึดทางคลินิกในผู้ป่วยสูบบุหรี่ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรง
 
 
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ ปี 2559, October-December ปีที่: 66 ฉบับที่ 4 หน้า 297-314
คำสำคัญ
Azithromycin, Chronic periodontitis, one-visit full-mouth scaling and root planing, การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียว, ยาอะซิโธรมัยซิน, โรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง