การใช้เทคนิคเสริมในผู้ป่วยที่มารับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน
จริยา เลศอรรฆยมณ๊, ประกอบ ผู้วิบูลย์สุข, ปาริชาติ สอนเสาวภาคย์, มยุรี นันทนิรันดร์, อรวรรณ พงศ์รวีวรรณ*, อังคณา เหลืองนทีเทพ, เพชรี เจนจบDepartment of Anesthesiology, Siriraj Hospital, 2 Prannok Rd, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand. Phone: 0-2411-3256, Fax: 0-2412-1371, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ ภายใต้เทคนิคการระงับความรู ้สึกเฉพาะส่วน 110 คน ถูกแบ่งโดยสุ่มออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 22 คน ระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 ฟังเพลงบรรเลงร่วมกับการอธิบายถึงเทคนิคการระงับความรู้สึกได้รับทางหูฟัง กลุ่มที่ 2 ฟังเสียงระดับจิตใต้สำนึก กลุ่มที่ 3 ได้ รับยา Propofol เข้าหลอดเลือดดำ โดยผู้ป่วยควบคุมยาด้วยตนเอง กลุ่มที่ 4 ได้รับยา midazdam เข้าหลอดเลือดดำ โดยวิสัญญีแพทย์ กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา midazdam มีอาการง่วงซึมมากกว่ากลุ่มควบคุมในระยะ 1 ชั่วโมงหลังเริ่มผ่าตัด ผู้ป่วยกลุ่มที่ฟังเพลงบรรเลงร่วมกับคำอธิบายมีความพอใจในช่วงเสร็จผ่าตัดและช่วง 30 นาทีหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยา propofol การคำนวณประสิทธิภาพและราคาพบว่าเมื่อให้ผู้ป่วยฟังเพลงบรรเลงร่วมกับการอธิบายแทนการใช้ยา propofol จะสามารถประหยัดเงินได้ถึง 299.53 บาทต่อผู้ป่วย 1 คน แต่ความพึงพอใจของผู้ป่วยจะลดลง 17.26 คะแนน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, March
ปีที่: 88 ฉบับที่ 3 หน้า 371-376
คำสำคัญ
Regional anesthesia, Adjunct technique, Music, Patient-controlled sedation, Subliminal sound