การให้ไอออนซูโครสขนาดต่ำทางหลอดเลือดดำสัปดาห์ละครั้งเปรียบเทียบกับรับประทานยาธาตุเหล็กทุกวันสำหรับภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์: การศึกษาแบบสุ่ม
พรพิมล เรืองวุฒิเลิศ, พฤหัส จันทร์ประภาพ*, ประคอง ชื่นวัฒนา, วิทยา ถิฐาพันธ์, จุฬาลักษณ์ โกมลตรี
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Wanglang Road, Siriraj District, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-63-1541659, Fax: +66-2-4182662; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิศักย์ของการให้ไอออนซูโครสขนาดต่ำทางหลอดเลือดดำสัปดาห์ละครั้งกับยาธาตุเหล็กชนิดรับประทานสำหรับภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กในระยะท้ายของการตั้งครรภ์
                วัสดุและวิธีการ : สตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กที่อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ จำนวน 80 คน ถูกสุ่มให้ได้รบยาธาตุเหล็กรับประทานวันละ 200 มิลลิกรัมจนคลอด (กลุ่มธาตุเหล็กรับประทาน) หรือได้รับไอออนซูโครสคอมเพล็กซ์ เข้าทางหลอดเลือดดำลัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 200 มิลลิกรัม จนได้ 500 มิลลิกรัม (กลุ่มธาตุเหล็กเข้าหลอดเลือดดำ) ประเมินผลเลือดทางโลหิตวิทยาและภาวะธาตุเหล็กที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ และเมื่อคลอด และบันทึกผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์และผลข้างเคียงของยา
                ผลการศึกษา : มีการเพิ่มขึ้นของระดับฮีโมโกลบินอย่างช้าๆ ในทั้งสองกลุ่มที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์และเมื่อคลอด ระดับซีรัมเฟอร์ริตินในกลุ่มธาตุเหล็กเข้าหลอดเลือดดำสูงเป็น 4.7 เท่าของกลุ่มธาตุเหล็กรับประทานที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ [123.8 (90.4, 176.2) เทียบกับ 26.2 (18.9, 38.1) ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร, p<0.001] และยังคงสูงเป็น 2.3 เท่า เมื่อคลอด [66.3 (32.6, 93.7) เทียบกับ 28.3 (20.6, 38.9) ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร, p<0.001] ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง ทั้งสองกลุ่ม
มีน้ำหนักทารกแรกคลอดใกล้เคียงกัน
                สรุป : การให้ไอออนซูโครสคอมเพล็กซ์ขนาดต่ำทางหลอดเลือดดำแบ่งให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีประสิทธิศักย์ในการเพิ่มธาตุเหล็กสะสมได้ดีกว่าการรับประทานยาธาตุเหล็ก (เฟอร์รัส ฟูมาเรท) ทุกวัน ในการรักษาภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีสามารถเพิ่มระดับฮีโมโกลบินได้ไม่ต่างกัน
                                                                                                                             
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, May ปีที่: 100 ฉบับที่ 5 หน้า 496-503
คำสำคัญ
intravenous iron sucrose, oral iron, iron deficiency anemia, hemoglobin, serum ferritin, iron storage