ประสิทธิภาพของครีมไพลสกัดต่อการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย
จักรกริช กล้าผจญ*, ณัฏฐ์ จุฑารัตนากูล, พัฒนะ ลีภาควิชาเวชาศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของครีมไพลต่อการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อภายหลังจากการ
ออกกำลังกาย (delayed onset muscle soreness; DOMS)
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลองโดยปกปิดผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ประเมินผลลัพธ์
สถานที่ทำการวิจัย: สวนดอกฟิตเนส คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่
วิธีการศึกษา: กล้ามเนื้อ biceps ข้างที่ไม่ถนัดของอาสาสมัครชายสุขภาพดี 30 ราย ถูกกระตุ้นให้เกิด DOMS
จากการยกน้ำหนักในท่า biceps curl โดยเริ่มมีอาการภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงงานวิจัย
ถูกแบ่งโดยการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับครีมไพลและกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ซึ่งแต่งกลิ่นและสีให้
เหมือนกับครีมไพลแต่ไม่มีสารออกฤทธิ์) จากนั้นทำการประเมิน numeric rating scale (NRS) และ pain
pressure threshold (PPT) ทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ ภายหลังจากกระตุ้นให้เกิด DOMS ทันที 24 ชั่วโมงให้หลัง
และ 72 ชั่วโมงให้หลัง (โดยช่วงเวลาระหว่าง 24-72 ชั่วโมงให้หลังเป็นช่วงที่ได้รับยาไปทา)
ผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับครีมไพลและยาหลอกมีค่า NRS ที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทายาแต่การทาครีมไพลสามารถลดอาการปวดลงมากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (3.73±1.53 vs 2.13±1.92, p=0.027) นอกจากนี้กลุ่มที่รับครีมไพลไปทายังมีระดับ PPT เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทายาแต่กลับไม่พบความแตกต่างของระดับ PPT ในกลุ่มยาหลอก
สรุปผลการศึกษา: ครีมไพลสามารถลดอาการปวดจาก DOMS ได้ดีกว่ายาหลอก
ที่มา
เชียงใหม่เวชสาร ปี 2560, April-June
ปีที่: 56 ฉบับที่ 2 หน้า 69-79
คำสำคัญ
Plai cream, delayed onset muscle soreness (DOMS), biceps, pain pressure threshold