การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาเด็กโรคปอดอักเสบและต้นทุน การวินิจฉัยโรคร่วมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ
ปวีณา วรรณวิภาพร, พิกุลแก้ว เจนใจ, ศุภลักษณ์ อยู่ยอด*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษากับต้นทุน การวินิจฉัย โรคร่วมในเด็กโรคปอดอักเสบ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีดำนินการวิจัย; ประชากรที่ศึกษา คือ ทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาเด็กป่วยโรคปอดอักเสบ ทั้งหมดจำนวน 25 คน และเด็กป่วยโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงคำระหว่างพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2559 ประชากรทั้งหมดจำนวน 39 คน ใช้ ขนาดตัวอย่าง จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเด็กป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการดูแลรักษาจำนวน 5 กิจกรรมหลัก ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ชุดที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลการจัดบริการ เด็กป่วยโรคปอดอักเสบ ชุดที่ 5 แบบบันทึกต้นทุน และชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความตรง ด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 ใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย: พบว่า ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษารวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดย ไม่คิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าสาธารณูปโภค ต่อราย เท่ากับ 1,765.22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ กิจกรรมการพยาบาลต่อเนื่อง เท่ากับ 855.15 บาท (ร้อยละ 48) กิจกรรมที่มีต้นทุนต่ำที่สุด คือ กิจกรรมของทีมสหสาขาวิชาชีพ เท่ากับ 140.69 บาท (ร้อยละ 13) และพบว่าต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษา (ABC) ต่อราย โดยคิดรวมค่ายา ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าห้อง/ ค่าอาหาร และค่าสาธารณูปโภค เท่ากับ 4,617.87 บาท บาท การวิจัยนี้พบว่า ความแตกต่างระหว่าง ต้นทุนกิจกรรมการดูแลรักษาต่ำกว่าต้นทุนการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (DRG) เฉลี่ยต่อรายเท่ากับ 5,047.61 บาท
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรนำเสนอผลการวิจัยให้บุคลากรในหน่วยงานได้ทราบเพื่อให้เกิด ความตระหนักในการลดต้นทุนในการทำกิจกรรมโดยการคิดมาตรการ นวัตกรรม หรือนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานเอกสารเพื่อลดต้นทุนและลดเวลาในกิจกรรมการดูแลรักษา
ที่มา
วารสารสภาการพยาบาล ปี 2560, January-March
ปีที่: 32 ฉบับที่ 1 หน้า 146-157
คำสำคัญ
activity-based costing, diagnosis-related group costing, child pneumonia patients, ต้นทุนกิจกรรม, การดูแลรักษา, ต้นทุนการวินิจฉัยโรคเด็กโรคปอดอักเสบ