ประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียง ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในบริบทสังคมชนบทกึ่งเมือง จังหวัดยโสธร
วสันต์ กริ่มวิรัตน์กุล*, วราทิพย์ แก่นการ, สถาพร มุ่งทวีพงษากลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยโสธร
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของร่างกายลดลงทำให้เสี่ยง ต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ดังนั้นการตรวจคัดกรองจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียงที่สอดคล้องกับบริบทของ สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อวิถีชีวิตตลอดจนขนบธรรมเนี ยม ประเพณี รวมไปถึงการปรับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอน ที่ 1 ทำการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุและ คัดเลือกเข้าทำการศึกษาในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งเป็นการศึกษา แบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 85 รายให้การส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียงเป็นระยะ เวลา 10 เดือนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ด้วยโรคเรื้อรังพบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 14.96 รองลงมาเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 10.26 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังการ ส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p < .05) ส่วนคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ก่อนและหลังการส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียงไม่มีความ แตกต่างกัน
สรุป: การตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังร่วมกับการส่งเสริม สุขภาพแบบพอเพียงที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมช่วยเพิ่ม คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2560, May-June
ปีที่: 32 ฉบับที่ 4 หน้า 298-303
คำสำคัญ
Quality of life, Sufficiency Health Promotion, Elders with Chronic Disease, การส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียง, คุณภาพชีวิต. ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง