การเปรียบเทียบผลของแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยและแผ่นประคบร้อน ในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ณิชาภา พาราศิลป์*, ศิรินทิพย์ คำฟู, อรรจน์มน ธรรมไชยสาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ลูกประคบสมุนไพรไทยเป็นการรักษาด้วยความร้อนตื้นแบบดั้งเดิมของไทยซึ่งเป็นที่นิยม ในการบริการด้านสาธารณสุข ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยด้วยเตาไมโครเวฟขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกการรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการปวด แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเกี่ยวกับการศึกษาผลของการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทย วัตถุประสงค์ของ การศึกษานี้คือศึกษาผลของการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อน สมุนไพรไทยต่ออาการปวดและความยืดหยุ่นในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (single-blind tester) อาสาสมัครที่มี อาการปวดหลังส่วนล่างแบบไม่ทราบสาเหตุ 40 ราย ได้รับ การสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 ราย หรือกลุ่มควบคุม 20 ราย กลุ่ม ทดลองจะได้รับการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทย นาน 30 นาทีต่อครั้ง (3 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์) ในขณะที่ กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อน อาสาสมัคร ทุกท่านถูกประเมินความเจ็บปวดและความยืดหยุ่นด้วยมาตร วัดความเจ็บปวดด้วยสายตาและการทดสอบนั่งงอตัวไปด้าน หน้าตามลำดับ
ผลการศึกษา: ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติของความเจ็บปวดระหว่างก่อนและหลังการรักษา (p = 0.000) แต่ไม่ พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ มอย่างไรก็ ตาม พบว่าค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มทดลอง (p = 0.014)
สรุป: ทั้งสองการรักษาสามารถลดอาการปวดในผู้ที่มีอาการ ปวดหลังส่วนล่างได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การรักษา ด้วยแผ่นประคบร้อนสมุนไพรสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของ กล้ามเนื้อหลังได้ดีกว่าการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อน ดังนั้น แผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยอาจจะเป็นทางเลือกสำหรับการ ลดความเจ็บปวดและเพิ่มความยืดหยุ่นได้
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2560, July-August
ปีที่: 32 ฉบับที่ 4 หน้า 372-378
คำสำคัญ
Visual analog scale, Non-specific low back pain, Thai herbal hot pack, sit and reach test, แผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทย, มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา, การทดสอบนั่งงอตัวไปด้านหน้า, การปวดหลังแบบไม่ทราบสาเหตุ