ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ขวัญฤดี โกพลรัตน์, สุพร สุนัยดุษฎีกุล*, นภาพร วาณิชย์กุล, ระพีพัฒน์ นาคบุญนำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700, e-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความแตกฉานทางสุขภาพ การจัดการตนเอง ภาวะการทำหน้าที่ความรับผิดชอบสุขภาพของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คน เป็นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมครั้งแรกที่มารับการตรวจติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัด 3-6 เดือน ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบวัดความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย แบบสอบถามการจัดการตนเอง แบบประเมินความแตกฉานทางสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง และแบบประเมนิ ภาวะการทำหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัย: ความแตกฉานทางสุขภาพ การจัดการตนเอง ภาวะการทำหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางสามารถร่วมกันทำนายของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ร้อยละ 33.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .334, F = 10.629, p < .05) โดยปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะการทำหน้าที่ (β = - .335, p < .05) รองลงมา คือ
ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย (β = .249, p < .05) และการจัดการตนเอง (β = .184, p < .05) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรตระหนักถึงการส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่และการจัดการตนเองที่เหมาะสมในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม พัฒนารูปแบบการพยาบาลโดยการให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพวางแผนและปรับรูปแบบการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2560, July-September
ปีที่: 35 ฉบับที่ 3 หน้า 94-105
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข้าเทียม, Knee arthroplasty, คุณภาพชี่วิต, health literacy, ความแตกฉานทางสุขภาพ, การรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง, patient engagement, perceived person-centered care, ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย