การศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการใช้ atropine 0.6 มก. 0.9 มก. และ 1.2 มก. ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก. ในการแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อกลุ่ม non-depolarized
รัชยากร ลิ่มอภิชาต*, ลักขณา ภูพิพัฒน์, อักษร พูลนิติพร
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลขอนแก่น ขอนแก่น 40000 ประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างของความสะอาดของลำไส้ใหญ่ อาการข้างเคียง และความพึงพอใจของผู้ป่วยจากแนวปฏิบัติการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ 2 แบบ
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่นัดมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 224 ราย จัดให้ได้รับการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ ตามแนวปฏิบัติที่ 1 จำนวน 112 ราย และอีก 112 ราย เตรียมตามแนวปฏิบัติที่ 2 โดยทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันที่ 1 วันก่อนส่องกล้องให้ผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติที่ 1 รับประทานอาหารกากน้อยถึง 08.00 น. และรับประทานอาหารเหลวใสถึง 24.00 น. ส่วนกลุ่มแนวปฏิบัติที่ 2 รับประทานอาหารกากน้อยถึง 16.00 น. และรับประทานอาหารเหลวใสหรือน้ำเปล่าถึง 24.00 น. โดยทั้ง 2 กลุ่มปฏิบัติเหมือนกันในส่วนของรับประทานยาระบายโซเดียมฟอสเฟตโซลูชันครั้งละ 45 มิลลิลิตร จำนวน 2 ครั้ง เวลา 20.00 น. 1 วัน ก่อนการส่องกล้อง และ 06.00 น. ของวันส่องกล้อง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินระดับความสะอาดของลำไส้ดัดแปลงจากการแบ่งระดับความสะอาดของลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลราชวิถี แบบประเมินอาการข้างเคียงและแบบประเมินความพึงพอใจที่พัฒนาโดยนักวิจัยเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความสะอาดของลำไส้อาการข้างเคียง และความพึงพอใจระหว่างกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ สถิติ Fisher’s exact test และ chi square test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ด้วยแนวปฏิบัติที่ 2 ที่มีความสะอาดในระดับที่แพทย์ยอมรับได้มากที่สุดมีจำนวนมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมด้วยแนวปฏิบัติที่ 1 (p=0.03) ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมด้วยแนวปฏิบัติทั้ง 2 แบบไม่พบความแตกต่างของอาการข้างเคียง (p=0.37) ยกเว้นอาการหิวที่พบในแนวปฏิบัติที่ 1 มากกว่าแบบที่ 2 (p<0.001) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการเตรียมความสะอาดลำไส้ทั้ง 2 แบบ (p=0.59)
สรุป: การเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดด้วยแนวปฏิบัติที่ 2 โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารกากน้อยถึง 16.00 น. และรับประทานอาหารเหลวใสหรือน้ำเปล่าถึง 24.00 น. 1 วันก่อนส่องกล้องร่วมกับยาระบายทำให้ได้ลำไส้ที่สะอาดเพียงพอและยังช่วยลดอาการหิวจากการเตรียมลำไส้ลงได้
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2560, April-June ปีที่: 43 ฉบับที่ 2 หน้า 135-143
คำสำคัญ
atropine, heart rate, reversal, อัตราการเต้นของหัวใจ, Muscle relaxant, ยาหย่อนกล้ามเนื้อ, ชีพจร, การแก้ฤทธิ์