การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลชองหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
เนตรญา วิโรจวานิช*, เรณุการ์ ทองคำรอด, พูลสุข หิงคานนท์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามกระบวนงานหลักชองหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนรเศวร โดยใช้ระบบการคิดต้นทุนกิจกรรม ประชากรที่ศึกษาคือกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมด ที่ปฏิบัติกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2556 – 31 กรกฎาคม 2556 จำนวน 7,027 ราย ผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 13 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาล 1 คน และผู้ช่วยเหลือคนไข้ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย พจนานุกรมกิจกรรมพยาบาล 126 กิจกรรม 2) แบบบันทึกข้อมูล 10 แบบฟอร์ม และ 3) นาฬิกาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง โดยวิเคราะห์ความเท่าเทียมของการสังเกต (Interrater Reliability) ในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เท่ากับ 0.85 ส่วนที่ 3 ได้ค่าเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
(1) ต้นทุนรวมของกิจกรรมการพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนรเศวร เป็นเงินเท่ากับ 6,404,090.37 บาท มีต้นทุนค่าแรง เท่ากับ 1,800,5945.99 รองลงมาคือ ต้นทุนปันส่วนเท่ากับ 1,604,250.37 บาท ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ1,559,365.81 บาท และต้นทุนค่าวัสดุ เท่ากับ 1,439,880.19 บาท
(2) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงจำแนกตามกระบวนการหลัก 4 ระยะ พบว่าต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลในระยะแรกรับมีต้นทุนรวมเท่ากับ 420,622.26 ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 2,465.24 บาท ระยะจัดการภาวะคุกคามต่อชีวิตมีต้นทุนรวมเท่ากับ 766,426.34 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 6,728.52 บาท ระยะการดูแลรักษาพยาบาลมีต้นทุนรวมเท่ากับ 3,684,864.52 บาท และต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 10,099.05 บาท ระยะการจำหน่ายมีต้นทุนรวม เท่ากับ 432,144.20 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 973.91 บาท ทั้งนี้มีต้นทุนระยะจัดการคุกคามต่อชีวิตที่มีต้นทุนค่าวัสดุสูงที่สุด ส่วนอีก 3 ระยะ มีต้นทุนค่าแรงสูงที่สุด
(3) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อมจำแนกตามกระบวนการหลัก พบว่าต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะแรกรับเท่ากับ 320,835.18 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 107.87 บาท ระยะจัดการภาวะคุกคามต่อชีวิตมีต้นทุนรวมเท่ากับ 6,543.59 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 341.41 บาท ระยะการดูแลรักษาพยาบาลมีต้นทุนรวมเท่ากับ 75,987.73 บาท และต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 359.86 บาท และระยะการจำหน่ายมีต้นทุนรวมมีต้นทุนรวมเท่ากับ 196,666.56 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 520.52 บาท โดยทั้ง 4 ระยะ นี้ มีต้นทุนค่าแรงสูงสุด
ที่มา
วารสารการพยาบาลและสุขภาพ ปี 2557, September-December
ปีที่: 8 ฉบับที่ 3 Suppl หน้า 251-267
คำสำคัญ
Cost, Nursing service activities, Emergency Department, ต้นุทน, กิจกรรมการพยาบาล, หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน