Ondansetron กับการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในขณะให้นมบุตรหลังการผ่าตัด cesarean section โดยการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชา bupivacaine ร่วมกับ morphine เข้าช่องนํ้าไขสันหลัง
ดาสินี พุทธเจริญทอง, อารดา เจ๊ะโซะ, เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจ*
Department of Anesthesia, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10303, Thailand; Phone: +66-2-2564295, Fax: +66-2-2564294; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: หลังการผ่าตัดคลอดบุตรภายใตก้ ารระงับความรูสึ้กโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าช่องน้ำไขสันหลังที่มียามอร์ฟีนผสม ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สบายในขณะให้นมมารดาแก่ทารกแรกคลอด และอาจมีผลกระทบต่ออัตราความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา การให้ ondansetron อาจลดอาการดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่า ondansetron สามารถลดโอกาสการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ในขณะกำลังให้นมมารดาระยะแรกหลังการคลอดหรือไม่ หลังได้รับมอร์ฟีนเข้าช่องนํ้าไขสันหลังเพื่อระงับปวดหลังการผ่าตัดคลอด รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออาการดังกล่าวในระยะพักฟื้น และขณะให้นมบุตร
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาโดยวิธีสุ่มและปกปิดสองทางในมารดาที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตร ภายใต้การฉีดยาชาเข้าช่องนํ้าไขสันหลังร่วมกับมอร์ฟีน 0.2 มก. จำนวน 158 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับยา ondansetron 4 มก. และกลุ่มควบคุมได้รับนํ้าเกลือ normal saline (NSS) ที่เวลาหลังการคลอดทันที โดยวัดผลการศึกษาหลักเป็นอุบัติการณ์อาการคลื่นไส้ขณะให้นมมารดาแก่บุตรในระยะแรกที่ห้องพัก รวมทั้งเปรียบเทียบอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการดังกล่าวโดย four-point Likert Scale และอาการอาเจียนและคันตามตัวระหว่าง 2 กลุ่ม ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ ondansetron กับ NSS ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของอาการคลื่นไส้ขณะให้นมมารดาแก่บุตร (24.2% vs. 37.5%) และภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด (3.8% vs. 10.0%), (p = 0.07 และ 0.13 ตามลำดับ) จำนวนผูที้่ขอยาแกอ้ าการคลื่นไส้ในห้องพักฟื้น ในกลุ่ม ondansetron น้อยกว่า  NSS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.1% vs. 16.3%, p = 0.02) สำหรับอาการอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาโดยการใช้ regression analysis พบว่าอาการคลื่นไส้ในระยะพักฟื้นในกลุ่ม ondansetron น้อยกว่ากลุ่ม NSS (p = 0.04, adjusted OR 0.28, 95% CI 0.08-0.96) และประวัติ
เคยผ่าคลอดมาก่อนก็มีผลต่ออุบัติการณ์ที่ตํ่าลง (p = 0.04, adjusted OR 2.29, 95% CI 0.09-0.98) สำหรับปัจจัยที่มีผลเพิ่มอุบัติการณ์ ได้แก่ การได้รับยา methylergometrine (p = 0.04, adjusted OR 3.24, 95% CI 1.01-10.40) และเมื่อผ่านพ้นไปถึงระยะ 24 ชั่วโมง ปัจจัยที่มีผลคือประวัติคลื่นไส้อาเจียนเดิมของผู้ป่วย (p = 0.04, adjusted OR 2.72, 95% CI 1.04-7.12)
สรุป: อุบัติการณ์ของอาการคลื่นไส้ลดลงในระยะพักฟื้นจากการป้องกันด้วย ondansetron แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในขณะให้นมมารดาทั้งระยะแรก และ 24 ชั่วโมงหลังคลอด จึงควรพิจารณาให้ ondansetron เพื่อการรักษามากกว่าเพื่อป้องกันและเพื่อให้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2561, December ปีที่: 100 ฉบับที่ 12 หน้า 1283-1289
คำสำคัญ
Nausea, ondansetron, Cesarean, prophylaxis, Breastfeeding