ประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ด้วยวิธีการบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ดื่มสุรา
กนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล, พิชัย แสงชาญชัย, ธวัชชัย ลีฬหานาจ*
กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ด้วยวิธีการบำบัดเพื่อเสริม แรงจูงใจ
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดข้างเดียวในผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ดื่มสุรา ที่ขอรับคำปรึกษากับสายด่วนเลิกเหล้า 1413 เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ด้วย วิธีการบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจ (กลุ่มทดลอง) กับการให้คำแนะนำแบบสั้นเกี่ยวกับสุรา (กลุ่มควบคุม) จำนวน 4 ครั้งในระยะเวลา 3 เดือน ผลลัพธ์ของการศึกษาคือค่าเฉลี่ยและการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ย คะแนนความเครี ยดและคะแนนการรับรู้ความสามารถในตนเองก่ อนและหลังให้ คำปรึกษา 3 เดื อนและ 6 เดือน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 ราย มีผู้เข้าร่วมการศึกษาครบถ้วนจำนวน 149 ราย กลุ่มที่ได้รับ การบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดที่ 6 เดือนน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับคำแนะนำแบบสั้นเกี่ยวกับสุราอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) อีกทั้งกลุ่มที่ได้รับการบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจมีการ ลดลงของค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดที่ 3 เดือน และ 6 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002 และ p<0.001) เมื่อเทียบกั บกลุ่ มที่ได้รับคำแนะนำแบบสั้ นเกี่ยวกั บสุรา นอกจากนี้กลุ่มที่ ได้รับการบำบัด เพื่อเสริมแรงจูงใจมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความสามารถในตนเองที่ 3 เดือนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p=0.023) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำแบบสั้นเกี่ยวกับสุรา
สรุป: การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ด้วยวิธีการบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจมีประสิทธิผลในการลด ความเครียดแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ดื่มสุรา 
 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2560, October-December ปีที่: 62 ฉบับที่ 4 หน้า 309-322
คำสำคัญ
Stress, Motivational Enhancement Therapy, ความเครียด, significant others, alcohol abusers, ผู้ได้รับผลกระทบจากผู้ดื่มสุราการบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจ