การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิกับระบบบริการปกติ
มงคล ศิริเทพทวี, พิชญา วัฒนการุณ, จำเนียร สุรวรางกูร, ขนิษฐา ชุ่มสุข, จุฑามณี ดุษฎีประเสริฐ, ปรียาสิริ วิฑูรชาติ*
Department of Communication Sciences and Disorders / Center for Health Policy and Management, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, 270 Rama VI Road, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand; Telephone: +66 2201 2425 E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
 บทนำ: ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป็นกลุ่มหนึ่งในผู้ป่วยจิตเวชที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เพื่อลดการกำเริบและความเสี่ยง ต่อการก่อความรุนแรง โครงการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ได้รับ การดูแลอย่างครบถ้วน
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิต่อผลลัพธ์อาการทางจิตกำเริบกับระบบบริการปกติโดยวิเคราะห์ในมุมมองผู้ให้บริการ
วิ ธีกรศึกษา: ใช้ แบบจำลองการตัดสินใจเปรียบเทียบระบบการดูแลต่อเนื่อง (เยี่ยมบ้านทุก 1 เดือน) กับระบบบริการปกติ ข้อมูลที่ใช้ ในแบบจำลองได้ จากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมี กลุ่มควบคุม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 มิ ถุนายน พ.ศ. 2560
ผลกรศึกษา: ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับระบบการดูแลต่อเนื่อง จำนวน 105 คน และกลุ่มที่ได้รับระบบบริการปกติ จำนวน 107 คน ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องมีความถี่ของการเกิดอาการกำเริบและการก่อความเสี่ยงทางจิตเวชน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับบริการปกติอย่ างมีนัยสำคั ญทางสถิติ อัตราส่วนต้นทุนส่วนเพิ่มของระบบการดูแลต่อเนื่องต่อผลลัพธ์ อาการกำเริบเท่ากับ -13,738.5 บาท อัตราการเกิดอาการกำเริบและก่อความเสี่ยงทางจิตเวชของระบบการดูแลต่อเนื่องต่ำกว่าระบบบริการปกติเท่ากับ 0.14 จำนวนผู้ป่ วยที่ได้รับบริการการดูแลต่อเนื่อง จำนวน 27.77 คน จะเกิดประสิทธิผลการป้องกัน อาการทางจิตกำเริบหรือก่อความเสี่ยงทางจิตเวชได้ 1 คน
สรุป: ระบบการดูแลต่อเนื่องสามารถลดความถี่ของอาการกำเริบและการก่อความรุนแรงและความเสี่ยงทางจิตเวช
 
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2561, April-June ปีที่: 41 ฉบับที่ 2 หน้า 25-35
คำสำคัญ
Continuity of care, Severe mental illness high risk to violence patient, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง