การศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกการทรงตัวโดยวิธีดั้งเดิมและการฝึกโดยเครื่องแบ-ลันซ์แม็ป (Balance map) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง
มณฑิชา ม่วงเงิน*, ธิดารัตน์ นวลยง, ประเสริฐ อินตา, ยอดข้าว ศรีสถาน, พลอยเพ็ญ จารุเวฬสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : เทคนิคในการฝึกเพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัวในรูปแบบดั้งเดิมมีหลากหลาย เช่น Neurodevelopment Treatment (NDT) และการกระตุ้นการรับความรู้สึก สามารถทำให้ผู้ป่วยถ่ายน้ำหนัก
ไปด้านอ่อนแรงได้ดีขึ้น นอกจากนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการฝึกการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีข้อจำกัดเรือ่ งราคาสูง คณะผู้ศึกษาจึงได้คิดประดิษฐ์เครื่อง Balance map เพื่อเป็นอุปกรณ์การฝึกการทรงตัวด้วยวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก โดยใช้สัญญาณป้อนกลับทางการมองด้วยสายตาที่ใช้หลักการการฝึกที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง (task - specific training) เพื่อนำมาใช้ฝึกการทรงตัว วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกการทรงตัวในท่ายืนโดยวิธีดั้งเดิมและการฝึกโดยเครื่อง Balance map ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง วิธีการ : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าและมีความยินยอมเข้าร่วมศึกษา จำนวน 30 ราย ได้รับ
การสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากเพื่อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการฝึกโดยวิธีดั้งเดิม 15 ราย และกลุ่มที่ได้รับการฝึกโดยเครื่อง Balance map 15 ราย และแต่ละกลุ่มจะได้รับการฝึกกายภาพบำบัดร่วมกับการฝึกการทรงตัว 10 นาที จำนวน 12 ครั้ง โดยจะได้รับการประเมินผลก่อนฝึก หลังฝึกครั้งที่ 6 และ 12 โดยใช้ค่าเฉลี่ยของ Functional Reach test (FRT), Balance map score (BMS) และค่าคะแนนของ Berg Balance Scale (BBS) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้ Independent sample T-test และ Two-way repeated measure ANOVA ผล : ผลการศึกษาระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกโดยเครื่อง Balance map เปรียบเทียบกับกลุ่มการฝึกการทรงตัวโดยวิธีดั้งเดิม พบความแตกต่างของคะแนน BBS หลังฝึกครบ 6 ครั้ง และ หลังฝึกครบ 12 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.001 และp < 0.001 ตามลำดับ ส่วนคะแนน FRT หลังฝึกครบ 6 ครั้ง และ หลังฝึกครบ 12 ครั้ง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.041 และ p < 0.001
ตามลำดับ ค่าความแตกต่างของคะแนนของ Balance map score หลังฝึกครบ 6 ครั้ง และ หลังฝึกครบ 12 ครั้ง ในทิศทางด้านหน้า p = 0.001 และ p < 0.001 ด้านหลัง p < 0.001 และ p < 0.001 ด้านอ่อนแรงเฉียง
ทางด้านหน้า p < 0.001 และ p < 0.001 และด้านอ่อนแรงเฉียงทางด้านหลัง p < 0.001 และ p < 0.001 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้านอ่อนแรง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.001 หลังฝึก
ครบ 12 ครั้งเท่านั้น สรุป : การฝึกเครื่อง Balance Map โดยใช้หลักการการป้อนกลับทางการมองเห็นด้วยสายตา ร่วมกับหลักการการฝึกที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง (task-specific) ช่วยส่งเสริมการทรงตัวท่ายืนทั้งใน
ขณะอยู่กับที่และขณะเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง
ที่มา
Journal of The Department of Medical Services ปี 2561, January-February
ปีที่: 43 ฉบับที่ 1 หน้า 56-62
คำสำคัญ
Stroke, โรคหลอดเลือดสมอง, Balance, การทรงตัว, Visual feedback, Task-specific, การป้อนกลับทางการมองเห็นด้วยสายตา, เป้าหมายเฉพาะเจาะจง