การดูแลสุขภาพที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับบริการณ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
อนัฐณา ปิ่นแก้ว*, V Tanvatanakul, B Kijreedarborisuthiงานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
บทคัดย่อ
โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ จึงเป็นภาระโรคที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษจากบุคลากร ญาติพี่น้อง และตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้นการศึกษานี้จึงศึกษาผลของการดูแลจากบุคลากร จากญาติ
พี่น้อง และจากการดูแลตนเองที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย 200 คน ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้นตามวิธีการรักษา ข้อมูลเก็บด้วยแบบสอบถามโดยนำไปส่งให้ผู้ป่วยและรับกลับด้วยตนเอง วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาจำนวนและร้อยละรายข้อ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 70.0) เป็นผู้หญิง อายุเฉลี่ย 53.8 ± 12.3 ปี รู้ว่าเป็นโรคมะเร็งมาแล้วเฉลี่ย 8.7 ± 10.1 เดือน โดยส่วนมากเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งศีรษะและลำคอ ร้อยละ 30.5, 21.5 และ 20.0 ตามลำดับ พบผู้ป่วยระยะ 2 สูงสุด รองลงมาระยะ 3, ไม่ทราบระยะ, ระยะ 4 และระยะ 1 ร้อยละ 32.0, 26.0, 24.0, 9.0 และ 9.0 ตามลำดับ อยู่รับการรักษาด้วยวิธีรังสีรักษาสูงสุด ร้อยละ 58.0 รองลงมารังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด ร้อยละ 25.0 เคมีบำบัด ร้อยละ 10.0 และผ่าตัด ร้อยละ 7.0 ตามลำดับ ผู้ป่วยตอบว่า ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีมาก จากบุคลากร ร้อยละ 58.5 จากญาติพี่น้อง ร้อยละ 76.0 และการดูแลตนเอง ร้อยละ 74.0 ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตทางสิ่งแวดล้อมสูงสุด รองลงมาทางจิตใจทางร่างกาย และทางสังคม ร้อยละ 74.4, 71.7, 71.6 และ 67.6 ตามลำดับ และโดยรวมนั้นผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ร้อยละ 41.0 การดูแลสุขภาพจากบุคลากร จากญาติพี่น้อง และจากการดูแลตนเอง ระยะโรคและระยะเวลาที่รู้ว่าป่วยมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยการดูแลตนเองมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งมากสุด รองลงมาเป็นการดูแลสุขภาพจากบุคลากรและการดูแลทั้งสองมีผลเชิงบวก ส่วนระยะโรคและระยะเวลาที่รู้ว่าป่วย มีผลเชิงลบ และมีผลมากเรียงกันตามลำดับ โดยมีปริมาณความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ร้อยละ 16.0, 3.8, 28.8, 2.3 และ 5.0 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.629 ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 38.3 โดยการดูแลตนเองมีผลต่อคุณภาพชีวิตมากสุด รองลงมาเป็นการดูแลจากบุคลากร ระยะโรค และระยะเวลาที่รู้ว่าป่วย ตามลำดับ ดังนั้น
จึงใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมให้ผู้ป่วย และบุคลากรได้ดูแลเอาใจใส่เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ที่มา
Journal of The Department of Medical Services ปี 2561, March-April
ปีที่: 43 ฉบับที่ 2 หน้า 112-117
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Cancer patients, คุณภาพชี่วิต, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, Health Care, การดูแลสุขภาพ