การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาอินฮาเล็กซ์ ฟอร์ทกับยาต้นแบบในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด
วัชรา บุญสวัสดิ์*, อุไรวรรณ แซ่อุ่ย, สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
ตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาอินฮาเล็กซ์ ฟอร์ทและ บีโรดูอัล ฟอร์ท ในผู้ป่วยstable bronchial asthma หลังจากได้รับการกระตุ้นการหดตัวของหลอดลมด้วย methacholine โดยวัดผลการเปลี่ยนแปลงของ forced expiratory volume in one second (FEV1) ภายใน 90 นาที และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีการปกปิดทั้งสองทางแบบไขว้
อุปกรณ์และวิธีการ: การศึกษาจัดทาขึ้นที่คลินิคโรคหอบหืด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมีเกณฑ์คัดผู้ป่วยเข้าสู่การวิจัย คือต้องเป็นผู้ป่วย stable asthma ที่มี FEV1 มากกว่าร้อยละ 70 ของค่าปกติที่คานวณได้ และมีผลการทดสอบเป็นบวกเมื่อทา methacholine provocation test ส่วนเกณฑ์การคัดผู้ป่วยออกจากการวิจัยคือ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจภายใน 6 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหอบหืดกำเริบใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือมีโรคประจำตัว ซงึ่ ได้ผู้เข้าร่วมการศกึ ษาท้งั หมด 50 คนที่ได้รบั การทดสอบ methacholine โดยจะถูกสุ่มให้ได้รับ 1 nebule ของ อินฮาเล็กซ์ ฟอร์ท หรือบีโรดูอัล ฟอร์ทผ่านทาง micronebulizer แล้วจึงทำการวัดค่า FEV1 ที่ช่วงต่างๆ จนกระทั่งครบ 90 นาที และรายงานเป็นพื้นที่ใต้กราฟของ FEV1 หลังจากนั้น 1สัปดาห์ต่อมา ภายในเวลา 2 ชั่วโมงของครั้งก่อน ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการรักษาด้วยยาอีกขนาน โดยผู้เข้าร่วมการศึกษา ผู้ช่วยวิจัย
ผู้ประเมิน และผู้วิเคราะห์ข้อมูล จะถูกปกปิดเรื่องการจัดสรรยา นอกจากนี้ยังมีการติดตามความอิ่มตัวของออกซิเจนความดันโลหิต ชีพจรและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในการศึกษาด้วย
ผลลัพธ์: มีผู้เข้าร่วมการศึกษา เป็น หญิง 44 คน (ร้อยละ 88 ) และเป็นชาย 6 คน ( ร้อยละ 12) ผู้ป่วย 24 คนมีประวัติโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ค่าเฉลี่ยเริ่มต้นของ FEV1 คือ 2.5 ± 0.5 ลิตร เปอร์เซ็นต์ของ FEV1 จากค่าปกติที่คำนวณได้ คือ 86.3 ± 10 ลิตร ค่าความแตกต่างของค่ากลางของพื้นที่ใต้กราฟระหว่างยาทั้ง 2 ชนิดคือ 0.36 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( P=0.86, 95 % CI -3.83, 4.94) ไม่มีผู้ป่วยคนใด มีภาวะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือความดันโลหิตสูงระหว่างการศึกษา และไม่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเกิดขึ้นระหว่างการศึกษา
สรุปผลการศึกษา : ประสิทธิภาพของอินฮาเล็กซ์ ฟอร์ทเท่าเทียมกับ บีโรดูอัล ฟอร์ท และไม่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเกิดขึ้นขณะได้รับยานี้
ที่มา
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต ปี 2557, เมษายน-มิถุนายน
ปีที่: 35 ฉบับที่ 2 หน้า 45-51