คุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองภายใน 6 เดือนแรก
ดานิล วงศ์ษา, ประทุม สร้อยวงศ์*, จินดารัตน์ ชัยอาจคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
หลังได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดจากการขาดปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองทันที โดยมีสาเหตุจากการแตก ตีบ หรือ ตันของหลอดเลือด การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ อันจะส่งผลทำให้ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตลดลงได้ การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการวินิจฉัย 6 เดือนแรกและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกับ 1, 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 39 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบประเมินคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับภาษาไทย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระยะ 1, 3 และ 6 เดือน หลังได้รับการวินิจฉัย โดยใช้สถิติการทดสอบฟรีดแมน (Friedman test) และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเป็นรายคู่ตามระยะเวลาหลังได้รับการวินิจฉัยโดยใช้สถิติการทดสอบวิลคอกซอน ซายน์ แรงค์ (Wilcoxon signedrank test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตโดยรวมทั้งระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระยะ 1, 3 และ 6 เดือนหลังได้รับ
การวินิจฉัย อยู่ในระดับปานกลาง
2. คุณภาพชีวิตโดยรวมทั้ง 4 ระยะคือระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระยะ 1, 3 และ 6 เดือน หลังได้รับการวินิจฉัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเป็นรายคู่ตามระยะเวลาหลังได้รับการวินิจฉัย พบว่า ระยะก่อนจำหน่าย ระยะ 1 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย ระยะ 3 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย ตํ่ากว่าระยะ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองภายในช่วง 6 เดือนแรกมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต และศึกษาหาวิธีการทางการพยาบาลที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้
ที่มา
พยาบาลสาร ปี 2561, April-June
ปีที่: 45 ฉบับที่ 2 หน้า 40-50