ผลของโปรแกรมช่วยเหลือแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
วรวรรณ จงสง่าวิทยาเลิศ*, อัมพร เบญจพลพิทักษ์, บุษรา คูหพันธ์, วรรณภา เปรมปรีดา
สถาบันราชานุกูล
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมช่วยเหลือแม่ซึมเศร้าหลังคลอด
วัสดุและวิธีการ: ศึกษาในหญิงหลังคลอด 4 สัปดาห์ที่คัดกรองพบความเสี่ยงซึมเศร้า จำนวน 143 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มทดลองจะได้รับการช่วยเหลือตามโปรแกรมเป็นเวลา 6 เดือน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการช่วยเหลือตามระบบในปัจจุบัน ประเมินผลโดยวัดอาการซึมเศร้าหลังคลอดที่ลดลงจาก แบบคัดกรอง EPDS ฉบับภาษาไทย รูปแบบการเลี้ยงดูโดยใช้แบบสังเกต HOME ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา multivariate tests และ one way repeated ANOVA
ผล: คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน คะแนน เฉลี่ยรูปแบบการเลี้ยงดูในกลุ่มทดลองสูงกว่ ากลุ่มควบคุมในระยะสิ้นสุดโปรแกรมทันทีและหลังสิ้นสุดโปรแกรม 3 เดือน โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนด้านการตอบสนอง ของเล่นส่งเสริมการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่ม ควบคุม
สรุป:  แม่ที่ เข้าร่ วมโปรแกรมมี ภาวะซึ มเศร้าลดลงไม่ ต่างจากกลุ่ มควบคุ มแต่ มี คะแนนเฉลี่ยรูปแบบการเลี้ยงดูที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อประเมินในระยะสิ้นสุดโปรแกรมทันที และสิ้นสุดโปรแกรม 3 เดือน
 
ที่มา
Rajanukul Institute Journal ปี 2560, July-December ปีที่: 32 ฉบับที่ 2 หน้า 17-30
คำสำคัญ
MOTHER, postpartum depression, child development, แม่, ซึมเศร้าหลังคลอด, พัฒนาการเด็ก