การศึกษาการใช้ยาต้านการสลายไฟบริน (ทรานซามีน) แบบเฉพาะที่ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเพื่อลดการเสียเลือด และอัตราการรับเลือดหลังผ่าตัด
จิธายุทธ เสือจุ้ย*, ณัฐวุฒิ ชนะฤทธิชัย, อุรวิศ ปิยะพรมดี, ยิ่งยง สุขเสถียร
Department of Orthopedics Surgery, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital, Nakhon Ratchasima, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ทรานซามีนแบบในข้อ ในการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมชนิดทั้งหมด เพื่อการลดปริมาณการรับส่วนประกอบของเลือด และลดการเสียเลือด
วิธีการศึกษา: การศึกษาประสิทธิภาพของยาต้านการสลายไฟบริน (ทรานซามีน) แบบเฉพาะที่ โดยศึกษาไปข้างหน้า มีการทดลองแบบสุ่มและปกปิดสองทางเทียบกับยาหลอก ในการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมชนิดทั้งหมด ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 มีจานวนการผ่าตัดที่เข้าร่วมศึกษาทั้งสิ้น 135 ครั้ง จากผู้ป่วย 118 ราย โดยการใช้ยาต้านการสลายไฟบริน ในขนาด 750 มก. แบ่งครึ่งสารละลาย และนำไปแช่หลังการเตรียมเบ้าสะโพก และหลังจากการเตรียมโพรงกระดูกก่อนใส่ข้อสะโพกเทียม นาน 3 นาที ทั้งสองที่โดยผลลัพธ์หลักที่ทาการศึกษาคือ ร้อยละของผู้ป่ วยที่ได้รับส่วนประกอบของเลือด และปริมาณการสูญเสียเลือด ทั้งจากสายระบายเลือด และจากการคำนวณ
ด้วยสูตรของ Gross และผลลัพธ์รอง ได้แก่ ค่าเฉลยี่ จา นวนถุงเลือดที่ได้ต่อคน ค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริตที่ต่ำที่สุดหลังผ่าตัด ค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริตที่ลดลง ค่าความเจ็บปวด ระยะเวลาการนอน รพ.หลังผ่าตัด และติดตามผู้ป่วยในสัปดาห์ที่ 2, 4, 8, 12 หลังการผ่าตัดเพื่อศึกษาผลข้างเคียงต่างๆของการใช้ยาต้านการสลายไฟบริน เฉพาะที่
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยาต้านการสลายไฟบริน (ทรานซามีน) มีอัตราการรับเลือดที่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม(TXA group = 39.7%, Placebo = 55.2%; P-value = 0.07), มีปริมาณการเสียเลือดทางสายระบายเลือดไม่แตกต่าง (TXA group = 535 มล., Placebo = 540 มล.; P-value = 0.45) และปริมาณการสูญเสียเลือดจากการคานวณด้วยสูตรของ Gross ไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (TXA group = 771 มล., Placebo = 757 มล.; P-value = 0.59) แต่พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยาทรานซามีนมีปริมาณการใช้ส่วนประกอบของเลือดลดลงอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (TXA = 0.53 units per case, Placebo = 0.88 units per case; P-value=0.035). ด้านความเจ็บปวด visual analog scales (VAS) พบว่า
ลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเช่นกัน (TXA = 3.9, Placebo = 4.7; P-value=0.001) และด้านผลข้างเคียงจากการใช้ยา พบว่ามี 3 รายในกลุ่มที่ได้รับยาทรานซามีน (ไข้  2 ราย และข้อสะโพกเทียมหลุดเคลื่อน 1 ราย) และ 5 รายในกลุ่มควบคุม (แผลติดเชื้อชั้นตื้น 1 ราย, ไข้ 2 ราย และข้อสะโพกหลุดเคลื่อน 2 ราย) และไม่พบการระคายเคืองต่อเส้นประสาทไซอาติกจากการใช้ยาในการศึกษานี้
สรุป : การใช้ยาต้านการสลายไฟบริน (ทรานซามีน) ในขนาด 750 มิลลิกรัม แบบเฉพาะที่ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมไม่มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการรับเลือด และลดปริมาณการเสียเลือดได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณยาที่ไม่เพียงพอ หรือจากการแช่ที่ไม่นานเพียงพอ อย่างไรก็ตามพบว่าสามารถลดปริมาณการรับสารประกอบของเลือดในผู้ป่ วย และคะแนนความเจ็บปวดหลังผ่าตัดได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยไม่พบความแตกต่างในเรื่องของผลข้างเคียงจากการใช้ยา
 
ที่มา
วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ปี 2559, January-April ปีที่: 40 ฉบับที่ 1-2 หน้า 3-12
คำสำคัญ
Blood loss, Tranexamic acid, Intraarticular, Total hip arthroplasty, Transfusion rate