ประสิทธิภาพของดนตรีบำบัดในการบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดจากแผลฝีเย็บช่วงหลังคลอดทันที: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
่รวิตา ชัยชนะลาภ, วิภาดา เหล่าสุขสถิตย์, กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์, ธารางรัตน์ หาญประเสริฐพงษ์*Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhon Nayok 26120, Thailand; Telephone: 66-37095085-6 ext 10803, Email: [email protected], [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของดนตรีบำบัดต่อการบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดจากแผลฝีเย็บช่วงหลังคลอดทันที
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพื่อประเมินประสิทธิภาพของดนตรีบำบัดต่อการบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดจากแผลฝีเย็บช่วงหลังคลอดทันที หญิงหลังคลอดทางช่องคลอดซึ่งได้รับการตัดฝีเย็บระดับ 2 หรือน้อยกว่า โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนของการคลอด ที่ห้องคลอดและหอผู้ป่วยในหลังคลอดของภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งได้รับคำเชิญให้ร่วมในการศึกษานี้ โดยใช้มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตาเปรียบเทียบระดับความปวดระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม
ผลการศึกษา: หญิงหลังคลอด 100 คน ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการศึกษานี้ ลักษณะพื้นฐานของผู้เข้าร่วมการศึกษาเช่น อายุ ระดับความรุนแรงของการฉีกขาดแผลฝีเย็บเหมือนกันในทั้งสองกลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษา ค่ามัธยฐานของระดับความเจ็บปวดวัดโดยใช้มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา ณ. เวลา 2 ชั่วโมงหลังสิ้นสุดการเย็บแผลฝีเย็บของกลุ่มศึกษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [24.0 มิลลิเมตร (8.3-41.5) และ 36.5 มิลลิเมตร (20.0-53.3) ตามลำดับ, ค่า p < 0.001] ค่ามัธยฐานของระดับความเจ็บปวดวัดโดยใช้มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา ณ. เวลา 6 ชั่วโมงหลังสิ้นสุดการเย็บแผลฝีเย็บของกลุ่มศึกษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [12.0 มิลลิเมตร (3.0-21.0) and 22.0 มิลลิเมตร (15.0-38.0) ตามลำดับ, ค่า p < 0.001]
สรุป: ดนตรีบำบัดมีประสิทธิภาพในการบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดจากแผลฝีเย็บช่วงหลังคลอดทันท
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2561, July
ปีที่: 26 ฉบับที่ 3 หน้า 158-165
คำสำคัญ
Music therapy, ดนตรีบำบัด, Singleton pregnancy, episiotomy pain, เจ็บปวดแผลฝีเย็บ, หญิงตั้งครรภ์เดี่ยว