ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อคุณภาพชีวิตด้านการบาบัดด้วยยาในผู้ป่วยนอก
ทศพร แสงทองอโณทัย, พรรณทิพา ศักดิ์ทอง*ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยนอกที่ไม่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยนอก 414 คน ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลกลางระหว่างเดือนมีนาคม 2559 ถึงเดือนตุลาคม 2559 การศึกษาแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติของโรงพยาบาลและกลุ่มศึกษา การประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาของผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถาม Patient-reported Outcomes Measure of Pharmaceutical Therapy for Quality of Life (PROMPT-QoL) จานวน 43 ข้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 มิติ ผู้วิจัยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการแทรกแซงและหลังการแทรกแซงเมื่อผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ในครั้งถัดไป ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาบางมิติดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติ ได้แก่ มิติที่ 2 การได้รับข้อมูลเรื่องยาและโรคจากแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล (P<0.001) มิติที่ 3 ความพึงพอใจต่อผลของการใช้ยา (P<0.05) มิติที่ 5 ผลทางด้านจิตใจของการใช้ยา (P<0.001) และคะแนนรวมของทั้งแบบสอบถาม (P<0.001) สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกรส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาของผู้ป่วยดีขึ้น แบบสอบถาม PROMPT-QoL เป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐานซึ่งสามารถนามาประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาได้
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2560, January-June
ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 157-170
คำสำคัญ
Pharmaceutical care, การบริบาลทางเภสัชกรรม, PROMPT-QoL, drug therapy-related quality of life, คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา