ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจแบบกลุ่มต่อระดับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
บุญตา วิทิตศิริ, พัฒน์ สวรรค์พิทักษ์*, นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล, เพิ่มสุข เอื้ออารี, กรกกาญจน์ กอบกิจสุมงคล, ศิริพร แสงมณีหน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า
สถานที่ทำการวิจัย: หนว่ ยเวชศาสตรฟ์ นื้ ฟูโรคหัวใจ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลางและมีแผนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเพื่อทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและ/หรือการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจตั้งแต่พฤษภาคม 2557 ถึง กุมภาพันธ์ 2559
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบกลุ่มตั้งแต่ช่วงก่อนการผ่าตัดและภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยถูกประเมินระดับคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต short form 36 (SF-36) ทั้งหมด 4 ครั้ง คือ ก่อนการผ่าตัด, หลังการผ่าตัดที่ 1, 3 และ 6 เดือน
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 48 ราย อายุเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) คือ 63.17 (10.06) ปี ผลประเมินด้านคุณภาพชีวิต พบค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต SF-36 ในภาพรวม (ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน) ก่อนการผ่าตัด, หลังการผ่าตัดที่ 1, 3, และ 6 เดือน คือ 54.57 (17.06), 53.69 (15.37), 63.78 (16.40) และ 69.50 (17.05) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในช่วงหลังการผ่าตัด 3 เดือน โดยเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการผ่าตัด มีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.20 (95% CI = 4.32, 14.08)
สรุป: ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดกลุ่มเสี่ยงตํ่า และเสี่ยงปานกลางที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจแบบกลุ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นที่ 3 เดือนหลังการผ่าตัด
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2561, May-August
ปีที่: 28 ฉบับที่ 2 หน้า 44-48
คำสำคัญ
Quality of life, SF-36, Cardiac rehabilitation, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ, แบบสอบถามคุณภาพชีวิต