ผลของการฝึกเต้นรองเง็งแบบประยุกต์ต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุในชุมชน
เทอดขวัญ ปลูกวงษ์ชื่น*, ฐิติมา เซ่งฮ่อ, ณัฐชยา มิ่งแก้วภาควิชากายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการทรงตัวแบบไดนามิกระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาเชิงอนุรักษ์และ
กลุ่มที่ได้รับการฝึกเต้นรองเง็งแบบประยุกต์ในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน
วิธีการ: ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนจำนวน 36 คน ได้รับการสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาเชิงอนุรักษ์ 18 คน และ อีก 18 คนอยู่ในกลุ่มฝึกเต้นรองเง็งแบบประยุกต์ โดยผู้เข้าร่วมที่ได้รับการฝึก เต้นรองเง็งแบบประยุกต์จะได้รับโปรแกรมท่าเต้นรองเง็งแบบประยุกต์ ฝึก 3 ครั้ง/ สัปดาห์ จำนวน 3 สัปดาห์ โดยตัวแปรหลัก คือ timed up and go test และแบบประเมิน dynamic gait index โดยจะวัดที่ก่อนการฝึกและวัดซํ้าอีกครั้งที่ 2 สัปดาห์และที่ 3 สัปดาห์
ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึกที่ 3 สัปดาห์ในทั้งสองกลุ่ม โดยมีการใช้เวลาที่น้อยลงเมื่อประเมินโดยใช้ timed up and go test และมีการเพิ่มขึ้นของคะแนนในแบบประเมิน dynamic gait index ในทั้งสองกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มก็พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในตัวแปร time up and go test (p-value= 0.015) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในตัวแปร dynamic gait index (p-value= 0.607)
สรุปการศึกษา: การศึกษานี้แสดงให้เห็นการว่าฝึกเต้นรองเง็งแบบประยุกต์ให้ผลในการปรับปรุง
การทรงตัวมากกว่าการฝึกเชิงอนุรักษ์
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2561, January-April
ปีที่: 30 ฉบับที่ 1 หน้า 108-117
คำสำคัญ
Modified Ronggeng dance, Community-dwelling elderly people, Dynamic balance, Time up and go test, Dynamic gait index, รองเง็งแบบประยุกต์, ผู้สูงอายุในชุมชน