ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิต
นิรมัย มณีรัตน์, วราพร นนทศิลา, ศรีวรรณา วงศ์เจริญ, Supattra Puanfai-โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่าน ในผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 ราย และกลุ่มควบคุม 34 ราย วัดก่อนและหลังการทดลอง (two groups pre-post test design) ทำการศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2558 การเก็บรวบรวมข้อมูลทำ 2 ครั้ง คือเมื่อผู้ป่วยเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมงก่อนให้โปรแกรม และภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล 12 สัปดาห์ โดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของ Mahoney FI และ Bathel DW และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของ Ferrans CE และ Powers MJ การศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มมากขึ้นและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ไม่พบความแตกต่างของระดับคุณภาพชีวิต ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านได้
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2561, May-June
ปีที่: 27 ฉบับที่ 3 หน้า 500-509
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Stroke, โรคหลอดเลือดสมอง, Activities of daily living, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, คุณภาพชี่วิต, transitional care program, โปรแกรมการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่าน