ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากต่อสุขภาพช่องปากและการเกิดปอดอักเสบจากการเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติ:การเกิดปอดอักเสบจากการเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติ: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ตระการตา แซ่ฉั่ว, มนฤดี คงวัฒนานนท์, ใจรพร บัวทอง, สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ*, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐ์เชียร
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนสุขภาพช่องปากและอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia: VAP) ในผู้ป่วยวิกฤติที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากและกลุ่มที่ได้รับการดูแลช่องปากตามปกติ
การออกแบบวิจัย: วิจัยทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยระบบประสาทที่มีการบาดเจ็บหรือรอยโรคของสมอง
ที่ไม่ใช่ความพิการแต่กำเนิด อายุ > 18 ปี คะแนนกลาสโกว < 8 คะแนน ใสท่อช่วยหายใจทางช่องปาก กลุ่ม
ทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลช่องปาก ประกอบด้วยการประเมินสภาพช่องปาก การใช้
อุปกรณ์ช่วยขณะทำความสะอาดช่องปาก การใช้น้ำยาล้างปาก และแนวทางการทำความสะอาดช่องปาก
ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลช่องปากตามปกติ จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดย
ใช้เทคนิคการสุ่มแบบบล็อก และปกปิดไม่ให้ทราบว่าถูกจัดเข้าอยู่กลุ่มใด มีการอำพรางแบบสองฝ่าย
เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการเก็บข้อมูลโดยการปกปิดผู้เก็บข้อมูลและผู้ป่วยและญาติไม่ให้
ทราบว่าอยู่ในกลุ่มใด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย เปรียบเทียบคะแนนสุขภาพช่องปากระหว่าง
กลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติแมนวิทนีย์และสถิติฟรีดแมน ตามลำดับ และเปรียบเทียบอัตราการเกิด VAP
ด้วยสถิติไค-สแควร์
ผลการวิจัย: เมื่อเริ่มการศึกษา มีกลุ่มทดลอง 26 คน และ กลุ่มควบคุม 28 คน และในวันสิ้นสุด
การศึกษามีกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มลดลงเป็น 10 และ 11 คน ตามลำดับ กลุ่มทดลองมีคะแนนสุขภาพ
ช่องปากเฉลี่ยในวันที่ 5, 6, และ 7 ต่ำกว่า (ความสะอาดช่องปากดีกว่า) กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p = .009, p = .018 และ p = .001 ตามลำดับ) ส่วนการเกิด VAP พบแนวโน้มว่ากลุ่มทดลอง
มีอัตราการเกิดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 11.5 และ 14.3 ตามลำดับ) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ (p > .05)
ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไป โปรแกรมการดูแลช่องปากในผู้ป่วยวิกฤติที่ใส่ท่อช่วย
หายใจ ส่งผลให้ช่องปากของผู้ป่วยสะอาดมากขึ้น และอัตราการเกิด VAP มีแนวโน้มลดลง จึงควรสนับสนุนให้มีการนำไปใช้อย่างต่อเนื่องและขยายผลไปใช้ในหน่วยงานอื่นที่มีผู้ป่วยลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป
 
ที่มา
วารสารสภาการพยาบาล ปี 2561, October-December ปีที่: 33 ฉบับที่ 4 หน้า 46-63
คำสำคัญ
Randomized controlled trial, Oral care, Ventilator-associated pneumonia, การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, การดูแลช่องปาก, critically ill patients, oral endotracheal tube, randomised controlled trialTube, การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยวิกฤติ, ท่อช่วยหายใจทางช่องปาก