การศึกษาเบื้องต้นถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาแคปซูลประสะไพลสกัดในการบรรเทาอาการปวดแบบเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
พีรยา ศรีผ่อง, มธุรดา วิสัย, ราตรี สว่างจิตร*, สมศักดิ์ นวลแก้วหน่วยวิจัยการศึกษาทางคลินิกและการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 ; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของประสะไพลสกัด ในการบรรเทาอาการปวดที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลัน วิธีการ: การศึกษานาร่องในครั้งนี้เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและปกปิด 2 ด้านในผู้ป่วย 148 คนที่มีอายุ 20-45 ปีและมีอาการปวดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลันในระดับ 3 คะแนนขึ้นไป ผู้ป่วยถูกสุ่มด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 74 คน ผู้ป่วยได้รับยาแคปซูลประสะไพลสกัด 250 มิลลิกรัม 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 เวลา ร่วมกับยาหลอกไดโคลฟีแนค หรือรับประทานยาไดโคลฟีแนค 25 มิลลิกรัม 1 เม็ด หลังอาหาร 3 เวลา ร่วมกับยาหลอกประสะไพล เป็นเวลา 7 วัน การศึกษาประเมินระดับความปวด ลักษณะการปวด และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ 6 ชั่วโมง และ 7 วัน หลังเริ่มรับประทานยา รวมทั้งประเมินค่าการทางานของตับและไตด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการวิจัย: หลังใช้ยา 7 วัน สัดส่วนผู้ป่วยที่มีอาการปวดดีขึ้นของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน (ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม คือ -0.01, 95% CI: -0.17, 0.15) แต่ระดับการปวดของทั้งสองกลุ่มลดลงจากก่อนรับประทานยาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) และนัยสาคัญทางคลินิก โดยความปวดลดลงร้อยละ 67.73 (95%CI: 59.59, 75.87) ในกลุ่มประสะไพล และร้อยละ 68.48 (95%CI:61.23-75.74) ในกลุ่มไดโคลฟีแนค การศึกษาไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แบบเล็กน้อยทั้งสองกลุ่ม ผู้ป่วยในกลุ่มประสะไพลมีผื่นแดงและคัน อย่างละ 1 ราย กลุ่มไดโคลฟีแนคมีหน้าบวมและตาบวม อย่างละ 1 ราย ค่าการทางานของตับและไตของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุป: การศึกษาเบื้องต้นบ่งชี้ว่า ยาประสะไพลมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่ายาเม็ดไดโคลฟีแนคในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลัน และมีความปลอดภัยในการใช้ระยะสั้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาผลของยาในผู้ป่วยจานวนมากในระยะยาวเพิ่มเติ
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2562, January-March
ปีที่: 11 ฉบับที่ 1 หน้า 268-283
คำสำคัญ
pain, ความปวด, Diclofenac, ไดโคลฟีแนค, acute muscle strain, Prasaplai, อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อเฉียบพลัน, ประสะไพล