ประสิทธิภาพระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นกระแทกและการบำบัดด้วยคลื่นไมโครเวฟในการรักษาจุดกดเจ็บของผู้ป่วยกลุ่มอาการเอมพีเอส
สุดใจ หลวงภักดี*, ฐสิณี สุวิชญ์ธนาฐิติกลุ่มงานภายภาพบำบัด, โรงพยาบาลบ้านโป่ง, จ.ราชบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการบำบัดด้วยคลื่นกระแทกและการบำบัดด้วยคลื่น ไมโครเวฟในการรักษาจุดกดเจ็บของผู้ป่วยกลุ่มอาการเอมพีเอส
วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยกลุ่มอาการเอมพีเอส ที่มารักษาในแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบ้านโป่งจำนวน 50 คน ที่มีคุณสมบัติตามกำหนดด้วยระดับคะแนนความเจ็บปวดจากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคมุ 25 คน กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดด้วยคลื่นกระแทก กลุ่มควบคุมได้รับการบำบัดด้วยคลื่นไมโครเวฟเป็นเวลา 2 ครั้งต่อสัปดาห์รวม 4 สัปดาห์ ประเมินผลก่อนและหลังการทดลองด้วยแถบวัดระดับความรู้สึกปวดและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติที
ผลการศึกษา : 1. ระดับความเจ็บปวดของกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยคลื่นกระแทกและกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ ลดลงภายหลังการรักษาและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
2. ระดับคะแนนความพึงพอใจของกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยคลื่นกระแทกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยคลื่นไมโครเวฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป : การบำบัดด้วยคลื่นกระแทกสามารถลดความปวดและมีประสิทธิภาพดีกว่าการบำบัดด้วยคลื่น ไมโครเวฟ ในระยะเวลาที่เท่ากัน 4 สัปดาห์ ดังนั้น การบำบัดด้วยคลื่นกระแทกจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาในระยะเวลาจำกัด
ที่มา
แพทยสารทหารอากาศ ปี 2561, September-December
ปีที่: 64 ฉบับที่ 3 หน้า 8-16
คำสำคัญ
Trigger point, จุดกดเจ็บ, shock wave therapy, microwave diathermy, patients with myofascial pain syndrome, การรักษาด้วยคลืนกระแทก, การรักษาด้วยคลืนไมโครเวฟ, ผู้ป่วยกลุ่มอาการเอมพีเอส