การศึกษาประสิทธิภาพของการให้ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดสังเคราะห์ ทางกระแสเลือดก่อนการผ่าตัดต่อการสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดและอัตราการรับเลือด หลังการผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการรักษากระดูกสะโพกหักด้วยการผ่าตัด
ชวรัฐ จรุงวิทยากร, ปพน สง่าสูงส่ง*, กิจชัย ลักษมีอนุโณทัย, นรชาติ ศิริศรีตรีรักษ์, นรเทพ กุลโชติ, ธรรมนูญ เรืองชัยจตุพร, ศศิวิมล รัตนศิริ, สุภร จันท์จารุณี, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, พงศธร ฉันท์พลากร
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระรามทีี่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนำ: การให้ ฮอร์โมนกระตุ้ นการสร้างเม็ ดเลือดสังเคราะห์ช่วยลดการสูญเสีย เลือดระหว่างผ่าตัดและช่วยลดอัตราการให้ เลือดหลังการผ่าตั ดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับขนาดและวิธีการให้มาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ฮอร์โมนกระตุ้ นการสร้างเม็ดเลือดสังเคราะห์ ในการลดการสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดและลดอัตราการให้เลือดหลังการผ่าตั ด
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 32 คน แบ่งแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนกระตุ้ นการสร้างเม็ดเลือดสังเคราะห์และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับธาตุเหล็ กในน้ำตาลซูโครสทางหลอดเลือดดำจากนั้นทำการประเมินผลการลดการสูญเสียเลือดขณะผ่าตั ดการลดการรับเลือดหลั งผ่าตั ดผลข้างเคียงและเพิ่มคะแนนผลลัพธ์ในการใช้งาน
ผลการศึกษา: ลั กษณะพื้นฐานของสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ภาวะแทรกซ้อนหลั งผ่าตั ดและคะแนนผลลั พธ์ในการใช้ งานของสองกลุ่มไม่แตกต่างกั นการได้รับเลือดบริจาค ของกลุ่มที่ได้ รั บฮอร์โมน (2.1 ± 1.0 กรัม/เดซิลิตร) ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่ได้ รับยาหลอก (2.2  ±  0.8 กรั ม/เดซิลิตร) อย่ างมี นั ยสำคั ญทางสถิติ อย่ างไรก็ตาม ในกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนกระตุ้ นการสร้างเม็ดเลือดสังเคราะห์อาจมีผลในการเพิ่มระดับฮีโมโกลบินหลั งการผ่าตัด (P = .07) และเพิ่มระดับเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (P = .10)
สรุป: การให้ฮอร์โมนกระตุ้ นการสร้างเม็ดเลือดสังเคราะห์ร่วมกั บการให้ธาตุเหล็ก ในน้ำตาลซูโครสในผู้ ป่ วยที่ทำการรักษาภาวะกระดูกสะโพกหักด้ วยการผ่าตั ดไม่มีความแตกต่างกั นทั้งในด้านการลดการสูญเสียเลือดหลั งการผ่ าตั ดและอั ตรา การได้รับเลือด
 
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2562, January-March ปีที่: 42 ฉบับที่ 1 หน้า 10-18
คำสำคัญ
Recombinant human erythropoietin, Elderly hip fracture, Allogeneic blood transfusion, Postoperative blood loss, ฮอร์โมนกระตุ้น, การสร้างเม็ดเลือดสังเคราะห์, ภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ, อัตราการได้รับเลือดหลังผ่าตัด, การสูญเสียเลือดหลังผ่าตัด