ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท
พยุงศักดิ์ ฝางแก้ว, เพ็ญนภา แดงต้อมยุทธ์*
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท ก่อนและหลังได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกล่มุที่ได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเพศชายและได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ว่าเป็นโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวช จับคู่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการจัดการความโกรธ ที่เน้นการปรับความคิด 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งเครื่องมือทุกชุด
ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าว โดยใช้คูเดอร์ ริชาร์ดสันมีค่าเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผล: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับการจัดการความโกรธ ที่เน้นการปรับความคิด ลดลงกว่าก่อนได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มที่ได้รับการจัดการความโกรธที่เน้น การปรับความคิด ลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 
ที่มา
วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปี 2562, January-April ปีที่: 33 ฉบับที่ 1 หน้า 53-69
คำสำคัญ
พฤติกรรมก้าวร้าว, ผู้ป่วยจิตเภท, Schizophrenic Patients, cognitive therapy, การปรับความคิด, Anger management, Aggressive behavior, การจัดการความโกรธ