ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี
อภัณตรี จันทะไทย, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล*, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, นพดล โสภารัตนาไพศาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700; e-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและอำนาจทำนายของการรบกวนจากอาการ ระยะของโรคความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซํ้า และความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 108 ราย ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ชุดแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล การรบกวนจากอาการความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบเข้าพร้อมกัน
ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (X = 109.14, SD = 10.32) ปัจจัยที่ศึกษา 4 ตัวร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 20.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .204, F(4, 103) = 6.586, p < .01) โดยการรบกวนจากอาการเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตดีที่สุด (β = -.295, p < .01) รองลงมาคือ ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (β = -.261, p < .01) สว่ นระยะของโรคและความกลวั การกลบั เปน็ มะเรง็ ซาํ้ ไมส่ ามารถทำ นายคณุ ภาพชวี ติ ได้
สรุปและข้อเสนอแนะ: การรบกวนจากอาการและความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตลดลงของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลำไสใหญ่และทวารหนัก หลังสิ้นสุดการรักษา พยาบาลควรตระหนักให้ความสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเน้นการจัดการการรบกวนจากอาการและวางแผนการดูแลแก้ไขปัญหาความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2561, October-December
ปีที่: 36 ฉบับที่ 4 หน้า 52-65
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, SYMPTOM, survivors, Colorectal cancer, คุณภาพชี่วิต, อาการ, ผู้รอดชีวิต, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก