คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ในโรงพยาบาลราชบุรี
พิมพ์ชนก ปริยเอกสุต
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ของผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนและปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาครั้งแรกในโรงพยาบาลราชบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยสัมภาษณ์และตรวจผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่ามีอุ้งเชิงกรานหย่อน
ครั้งแรก ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชบุรี ตามแบบสอบถามอาการภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนและคุณภาพชีวิตฉบับภาษาไทย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561 จำนวน 102 คน เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพชีวิตและหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับคะแนนคุณภาพชีวิต
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อนในการศึกษานี้ อายุเฉลี่ย 66± 9.9 ปี (42-92 ปี) ส่วนใหญ่เป็นระยะ 3 ร้อยละ 38.2 คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ย 32.21 ± 19.27 คะแนน ตรงกับระดับรบกวนชีวิตน้อย โดย
มิติผลกระทบจากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนมีผลต่อชีวิตสูงสุด (54.89 คะแนน) รองลงมาคือข้อจำกัดด้านบทบาทหน้าที่ (41.99 คะแนน) และอารมณ์ (40.15 คะแนน) คุณภาพชีวิตนี้สัมพันธ์กับความรุนแรงของอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนหน้า อาการปัญหาต่อเพศสัมพันธ์ และระยะเวลาที่มีอาการ (p<0.05)
สรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสัมพันธ์กับความรุนแรงของอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนหน้า อาการปัญหาต่อเพศ
สัมพันธ์ และระยะเวลาที่มีอาการ ดังนั้นควรเลือกรักษาโดยผ่าตัดหรือห่วงพยุงช่องคลอดมากกว่าเชิงอนุรักษ์
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2562, January-March ปีที่: 38 ฉบับที่ 1 หน้า 13-24
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Pelvic organ prolapse, คุณภาพชี่วิต, Associated factors, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน