ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตโรคหลอดเลือดสมอง
รังษิยา เชื้อเจ็ดตน*, เดชา ทำดี
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมองส่งผลกระทบต่ อผู้ป่วยอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพชีวิตของผู้ที่รอดชีวิต
วัตถุประสงค์ :เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจั ยที่มีความสั มพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
วัสดุและวิธีการ: การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสั มพั นธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ความรุนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบประเมินระดับความสามารถ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสั มประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซี เรียล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการศึกษา: ระดับคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้งด้านสุขภาพและการทำหน้าที่ของร่างกาย ด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ด้านสังคมและเศรษฐกิจ และด้านครอบครัว ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ระดับความสัมพันธ์กับคนในชุมชน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ลักษณะที่อยู่อาศัย และกำลังแขน โดยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิ ติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคั ญทางสถิติด้วย (p<0.05) และปัจจั ยที่มีอิทธิพลทำนายร่วมต่อคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอย่างมีนัยสำคั ญทางสถิ ติ (p<0.05) ได้ แก่ โรคประจำตัว ประวัติการดื่มสุรา ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเวลาที่ให้การดูแลโดยประมาณ ระยะเวลาที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง
สรุปผลการศึกษา: ข้อมูลจากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพจากความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองให้ดีขึ้น
 
ที่มา
Journal of Associated Medical Sciences ปี 2562, September ปีที่: 50 ฉบับที่ 3 หน้า 597-604
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Stroke, โรคหลอดเลือดสมอง, Stroke survivors, คุณภาพชี่วิต, ผู้รอดชีวิตโรคหลอดเลือดสมอง